อิทธิพลของความเชื่อทางศาสนาในพื้นที่ถ้ำนาคีต่อการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้มุ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของความเชื่อทางศาสนาในพื้นที่ถ้ำนาคีต่อการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ถ้ำนาคีเป็นแหล่งมรดกในแถบภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลจากพญานาคทำให้เกิดสถานที่อันสวยงามล้ำลึก คือ ความเชื่อในพญานาคว่าเป็นสัตว์ที่มีพลังอำนาจมากมาย เช่น ถ้าได้ขอพรจากพญานาคแล้ว จะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ความเชื่อทางจิตวิญญาณ คือ ถ้ำนาคีถือเป็นสถานที่ฝึกสมาธิฝึกจิตวิญญาณให้ได้รับความสงบสุขปราศจากความทุกข์ และความเชื่อในถ้ำนาคีได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น พิธีกรรมและกิจกรรม เช่น การสวดมนต์ไหว้พระพุทธรูปหินหยก การบวงสรวงขอพรพญานาค ที่จัดขึ้นในถ้ำนาคีนั้นเป็นโอกาสให้ชาวบ้านมารวมตัวกัน สร้างความสามัคคีในชุมชน เป็นการรักษาประเพณีและพิธีกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ถึงมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนอีกหนึ่งสถานที่ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ถ้ำนาคี การที่ผู้คนจากทั่วประเทศเดินทางมาเที่ยวชมถ้ำนาคี ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจในท้องถิ่น ได้แก่ การจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก ร้านอาหาร และที่พักอาศัยสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการมีรายได้ของชาวบ้านและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว การพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงถ้ำนาคีและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวมากยิ่งขึ้น และมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
เดลินิวส์ออนไลน์. (2565). เปิดประวัติ “ถ้ำนาคี” ดินแดนสิ่งศักดิ์สิทธิ์แหล่งท่องเที่ยวอันชีนนครพนม. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2567, จาก https://www.dailynews.co.th/news/766647/
ธารารัตน์ มหาพันธ์ และ นิรมล สัมมัตตะ. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวถ้ำนาคี อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม. Journal of Engineering Technology Access, 4(1), 1-11.
ผู้จัดการออนไลน์. (2564). ถ้ำนาคีของดีคู่ถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกาชวนเที่ยว หลังดารา-คนดัง นิยมไหว้พระขอพร. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2567, จาก https://mgronline.com/travel/detail/ 9640000114778
วันชัย จันทร์พร. (2566). ผู้ว่าฯ นครพนม นำหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวถ้ำนาคี อุทยานแห่งชาติภูลังกา. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2567, จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/news/detail/1415/data.html
สำนักข่าว Sanook ออนไลน์. (2565). สายมูต้องตาม! เปิดตำนาน & ความศักดิ์สิทธิ์ของ "ถ้ำนาคี". สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2567, จาก https://www.sanook.com/horoscope/228577/
สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2565). ถ้ำนาคีอุธยานแห่งชาติภูลังกา บ้านแพง. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2567, จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/charm/detail/78
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม. (2560). การบริหารจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวถ้ำนาคีและการปรับภูมิทัศน์สองฟากฝั่งห้องฮ่องฮอสานต่อแนวคิดหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ เกจิอาจารย์ลุ่มน้ำโขง. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2567, จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/news/detail/763
สุรดา กาลวิบูลย์. (2565). พุทธศาสนากับพลวัตทางความเชื่อในสังคมไทย. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 14(3), 13-23.
Summerb. (2564). ถ้ำนาคี ที่เที่ยวนครพนม อุทยานแห่งชาติภูลังกา ชมหินลายเกล็ดพญานาคสุด Unseen. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2567, จาก https://travel.trueid.net/detail/v7n11zO5YKDk