อานาปานสติ: แนวทางบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Main Article Content

กนกวรรณ ปรีดิ์เปรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อานาปานสติเป็นแนวทางบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่า โรคซึมเศร้า เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ยังมีผู้รู้จักโรค ซึมเศร้า นี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองก็ไม่ทันรู้ตัว หรือบางคนก็คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที ซึ่งโรคซึมเศร้านั้นสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งทางร่างกายและจิตใจได้มากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาเรื่องการทานอาหาร รวมไปถึงการนอนหลับ ร้ายแรงสุดถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้ สาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า คือ สภาพจิตใจ เพราะสภาพจิตใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากสภาพการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการคิดและมุมมองต่อตนเอง เช่น มองโลกในแง่ร้าย สิ้นหวังหรือขาดความภูมิใจในตนเอง เป็นต้น ในทางพระพุทธศาสนาอานาปานสติ คือการเจริญสติ โดยยึดหลักการกำหนดลมหายใจเข้า ออก เพื่อทำให้จิตใจเกิดสมาธิ สติมีความตั้งมั่น เพื่อพัฒนาชีวิตให้มี ความสุขขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน นำหลักอานาปานสติมาประยุกต์ใช้บำบัดกับผู้ป่วย เช่น วิธีปฏิบัติแบบอานาปานสติ ให้ประโยชน์กับผู้ป่วยโรค ซึมเศร้ามาก แม้ไม่อาจป้องกันรักษาผู้ป่วยได้มาก แต่ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อทำให้จิตใจของผู้ป่วยดีขึ้น มีกำลังใจที่ดีส่งผลให้มีกำลังกายที่ดี ที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นต่อไปในสังคม

Article Details

How to Cite
ปรีดิ์เปรม ก. (2022). อานาปานสติ: แนวทางบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสาร ปัญญาลิขิต, 1(2), 37–47. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/867
บท
บทความวิชาการ

References

จำลอง ดิษยวณิช และพริ้มเพรา ดิษยวณิช. (2545). ความเครียด ความวิตกกังวลและสุขภาพ. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

ณรงค์ สุภัทรพันธุ์, (2543). โรคอารมณ์ซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด, (2544). บำบัดโรคด้วยการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). โรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ “คำวัด”. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก). (2546). หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). สมาธิ: ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ศยาม.

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช. (2554). แนวทางการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระภาวนาพิศาลเมธี (พรหมจันทร์). (2562). การยกอารมณ์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ตามแนวอานาปานสติภาวนา. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย.

พุทธทาสภิกขุ. (2536). วิธีฝึกสมาธิ วิปัสสนา. กรุงเทพฯ: อรุณวิทยา.

พุทธทาสภิกขุ. (2553). คู่มือศึกษาและปฏิบัติธรรมแบบอานาปานสติ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: เยลโล่.

พุทธทาสภิกขุ. (2555). สุขมหัศจรรย์จากลมหายใจ. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์.

พุทธทาสภิกขุ. (2559). คู่มือปฏิบัติอานาปานสติ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลักขณา สริวัฒณ์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วินิตา รัตตบูรณินท์.(2542). อยู่ร้อยปีไม่มีแก่: ใช้ชีวิตอย่างไรจะไกลหมอ. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

Bangkok Hospitol. (2562). ประเภทโรคซึมเศร้า (DEPRESSION). สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564, จากhttps://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/depression-type