การจัดการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเพื่อประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเพื่อประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์การจัดการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเพื่อประชาชนในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการจัดการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเพื่อประชาชนในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านสังคมทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.05 ค่า S.D. เท่ากับ 0.90 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านความเหมาะสม และด้านความเข้าใจ เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านการสนับสนุน มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
น้ำหนักเฉลี่ยด้านการจัดการ ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.03 ค่า S.D. เท่ากับ 0.90 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านหน้าที่ และด้านการกำหนดเป้าหมาย เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านการประเมิน มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดซึ่งแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง
ระดับการจัดการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.05 ค่า S.D. เท่ากับ 0.93 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการเจรจา มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านประสิทธิภาพ แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการพัฒนา แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และด้านจรรยาบรรณ แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนด้านความเป็นมืออาชีพมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(2), 509-522.
ยุทธพงศ์ ปิ่นอนงค์. (2564). แนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=86338&filename=house2558_2
วนิดา อินทรอำนวย. (2565). กฎหมายว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2970.
ศาลฎีกา. (2566). วิวัฒนาการระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566, จาก
http://www.supremecourt.or.th/วิวัฒนาการระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล.
สสช สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2566, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
อุดม งามเมืองสกุล และวิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ. (2563). กฎหมายการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 49(2), 297- 315.
อุบลวรรณ ขันธหิรัญ. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน โดยพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภาคประชาชน ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Yamane, T. (1973).Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.