การจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลยุคใหม่ในจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลยุคใหม่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์การจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลยุคใหม่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลยุคใหม่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านการจัดการทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.01 ค่า S.D. เท่ากับ 0.88 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการส่งเสริม และด้านการปฏิบัติ เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรก แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านการวางแผน มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
น้ำหนักเฉลี่ยด้านบุคลากร ทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.01 ค่า S.D. เท่ากับ 0.92 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านทัศนคติ และด้านความสามารถ เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านความใส่ใจ มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
ระดับการพัฒนาสังคมมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.05 ค่า S.D. เท่ากับ 0.92 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการปรับปรุง มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านประสิทธิภาพ แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการยอมรับ แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และด้านความทันสมัย แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนด้านจริยธรรมมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
คุณากร อักษรพรมราช. (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 15-24.
ดำรงค์ คำวงค์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความคิดเห็นของบุคลากรในบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ). 624-634.
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรินทร์ โสภา และสิทธิเดช สิริสุขะ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 383-397.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2566, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สุพรรณษา จำอินทร์. (2562). การพัฒนาบุคลากรภายใต้แนวคิดการจัดการองค์กรแห่งความสุขกรณีศึกษาสำนักงานเขตบางพลัด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.