การจัดการความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเวชสำอางยี่ห้อ ดร.เคส (Dr.Kes) ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เกศกมล เปลี่ยนสมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเวชสำอางยี่ห้อ ดร.เคส (Dr.Kes) ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาที่มีผลต่อการจัดการความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเวชสำอางยี่ห้อ ดร.เคส (Dr.Kes) ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการและหาแนวทางพัฒนาการจัดการความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเวชสำอางยี่ห้อ ดร.เคส (Dr.Kes) ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ได้แก่ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม


ผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเฉลี่ยด้านการจัดการทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.11 ค่า S.D. เท่ากับ 0.88 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการวางแผน และด้านการตลาด เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกัน ด้านการปฏิบัติ มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง น้ำหนักเฉลี่ยด้านการสร้างคุณภาพทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 3.14 ค่า S.D. เท่ากับ 0.86 แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านความใส่ใจ และด้านวัตถุดิบ เป็นด้านที่มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุด 2 อันดับแรกแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมากและปานกลาง ในขณะเดียวกัน ด้านการรับฟังผู้บริโภคมีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุดแปรผลได้ว่า อยู่ในระดับปานกลาง ระดับความพึงพอใจมีน้ำหนักเฉลี่ยทั้ง 5 ด้าน เท่ากับ 3.06 ค่า S.D. เท่ากับ 0.90 ซึ่งแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพ มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงที่สุดแปรผลได้ว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการบริการ แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ด้านบรรจุภัณฑ์ แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง และด้านราคา แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนด้านโฆษณามีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำที่สุด แปรผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
เปลี่ยนสมัย เ. (2024). การจัดการความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเวชสำอางยี่ห้อ ดร.เคส (Dr.Kes) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร ปัญญาลิขิต, 1(2), 24–36. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/567
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12).

กรุงเทพฯ: สามลดา.

ชินณวีร์ โชติภิรมย์กรณ์. (2562). การตลาดทางเลือกของเครื่องสำอางเคาเตอร์แบรนด์ระดับพรีเมียมเพื่อเจาะกลุ่มเมโทรเซ็กส์ซวล ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ณิชมน ศิริยงวัฒนา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสําอางและผลิตภัณฑ์บํารุงผิวผ่าน

ช่องทางออนไลน์ ในประเทศไทย (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ตรีญาภรณ์ สมบูรณ์วงศ์. (2559). แผนธุรกิจร้านขายเครื่องสำอาง (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี ของศาลเยาวชนและ

ครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัณฑิรา สุขสมนิรันดร. (2558). การศึกษาความพึงพอใจในการซื้อเครื่องสำอางพรีเมี่ยมแบรนด์ของวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรวิชญ์ อกณิษฐาวงศ์, วรรณดี แต้โสตถิกุล, ธวัช แต้โสตถิกุล และวิวรรธน์ อัครวิเชียร. (2565). ความพึงพอใจของลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีต่อร้านยามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 28(1), 98-113.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

KESKAMOL CLINIC. (2565). เกศกมล คลินิก ศูนย์รวมบริการด้านความงามแบบครบวงจร. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565, จาก https://keskamol-clinic.com/

PremaCare. (2565). อะไรคือเวชสำอาง (Cosmeceutical) เครื่องสำอาง บริษัทโรงงานรับผลิตเวชสำอาง.

สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2565, จาก https://www.premacare.co.th/บทความสร้างแบรนด์ทำ

แบรนด์/1/8/อะไรคือเวชสำอางcosmeceutical-เครื่องสำอาง-บริษัทโรงงานรับผลิตเวชสำอาง

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.