การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เพชรไพลิน ชุ่มชื่น
พนิดา จารย์อุปการะ
ญดาภัค กิจทวี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช และ 3) เพื่อประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านหนองเตียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี แบบวัดผลการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีความพึงพอใจมาก

Article Details

How to Cite
ชุ่มชื่น เ., จารย์อุปการะ พ., & กิจทวี ญ. (2025). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสาร ปัญญาลิขิต, 4(1), 61–75. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1567
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ชนกานต์ พิศิษฐวานิช. (2561). การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พัชรี นาคผง. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการ เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพรรณ ศรีหาวงศ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์.

วิภาพรรณ พินลา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 30(1), 13-34.

วิไลลักษณ์. (2565). การพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์โดยรูปแบบ TPACK เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนิสิตปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิรินาถ ส่งแสง. (2562). ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศุลชัย สระทองหัก. (2565). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ : กรณีศึกษาชุมชนชาติ พันธุ์ไทยทรงดำ บ้านดอนทราย ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 75-95.

Bonk, C.J. & Graham, C.R. (2004). Handbook of blended learning: global perspectives. San Francisco, CA: Pfeiffer publishing.

Koehler, M. J. & Mishra, P. (2009). What is Technological pedagogical content knowledge (TPACK). Contemporary Issues in Technology and Teacher Education (CITE Journal), 9(1), 60-70.

Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: Ministry of Education, Office of the Education Council.