ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากครูจำนวน 357 คน โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.977 สถิติการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับได้ดังนีโครงสร้างองค์การ เทคโนโลยีสารเสนเทศ บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ การพัฒนาบุคลากร และภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าน้อยที่สุด ตามลำดับ 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ดังนี้ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน และการส่งต่อ ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยการบริหารด้านโครงสร้างองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาบุคลากร ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ ร้อยละ 64.7 (มีค่า R2 = 0.647)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
จุฑามาศ อิศระภิญโญ. (2562). ปัจจัยการบริหารการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ฐานวัฒน์ อัญภัทร์อริยกุล. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษามัธยมศึกษาในสหวิทยาเขต 8 ศรีนครอัจจะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
ติน ปรัชญพฤทธิ์ และคณะ. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(1), 142-155.
ธิษิรินทร์ ปัญญายุทธศักดิ์. (2563). ปัจจัยตามหลักแนวคิด 7S ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของเทศบาลเมืองสัตหีบ (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิษฐ์อติกานต์ ดาราพันธ์. (2560). ปัจจัยการบริหารทางการบริหารและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นีรนุช ชัยบิน. (2561). ปัจจัยการบริหารทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประยงค์ ศรีโทมี. (2561). ปัจจัยการบริหารทางการบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปราณี สาไพรวัน. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เมรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล. (2560). ปัจจัยการบริหารการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วาทิตยา ราชภักดี. (2561). ปัจจัยการบริหารทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิรัตน์ พงษ์มิตร. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีรยุทธ ชาตะกาญจน์. (2555). เทคนิคการบริหารสําหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วีพริ้น (1991).
วีระนันท์ มนตรี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 364-376.
สมชาย วรกิจเกษมสุข. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 5 ปีสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 พ.ศ. 2566–2570. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2567, จาก https://eoffice.sesao1.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนใน สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สุรชัย พรมปากดี. (2565). ปัจจัยการบริหารทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อมรรัตน์ อรุณเจริญ. (2559). ปัจจัยการบริหารการบริหารที่ส่งผลต่อกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อรรถพล สุนทรพงศ์. (2565). ปัจจัยการบริหารคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อัญทิรา วาดี. (2564) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.