การพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น

Main Article Content

ลำพึง มามี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนวัดทุ่งลาดหญ้า “ลาดหญ้าวิทยา” จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น และแบบทดสอบทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 8.04 คะแนน และ 18.81 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น พบว่า คะแนนการทดสอบทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น

Article Details

How to Cite
มามี ล. (2024). การพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบฝึกลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น. วารสาร ปัญญาลิขิต, 3(3), 32–41. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1373
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ.

พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

พัฒน์นรี จันทราภิรมย์. (2562). การพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยการใช้สื่อการสอน ชุดฝึกลีลามือ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 63.

วรรณี โสมประยูร. (2559). เอกสารการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

หรรษา นิลวิเชียร. (2557). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วราวรรณ โคตรแก้ว . (2558). การแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือ ส่งเสริมการอ่านสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดอนหวาย จังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

มาริสา กลีบฉวี. (2565). การศึกษาความสามารถในการลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้ชุดฝึกร่องลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น. สุรินทร์: ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์.