การศึกษาประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนในหัวข้อ ระบำศรีชัยสิงห์ สำหรับรายวิชาสุนทรียศึกษา 1 (ศ21101) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

จิตรมนัส เนียมเนตร

บทคัดย่อ

การดำเนินการสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดให้เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการทดลองภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ88.31/85.89 และประสิทธิภาพเมื่อนำมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้ประสิทธิภาพเท่ากับ 92.86/89.30 สูงกว่าเกณฑ์ ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ระบำศรีชัยสิงห์ รายวิชาสุนทรียศึกษา 1 ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
เนียมเนตร จ. (2024). การศึกษาประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนในหัวข้อ ระบำศรีชัยสิงห์ สำหรับรายวิชาสุนทรียศึกษา 1 (ศ21101) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสาร ปัญญาลิขิต, 3(2), 54–66. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1055
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกริก และจินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: เยลโล่.

โกสุม สวัสดิ์พูน. (2555). ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ระบำนางรองรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

จเร แดงโสภา. (2553). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสาระดนตรี เรื่อง ขิม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ถวัลย์ มาศจรัส และดนัย อู่ทรัพย์. (2548). นวัตกรรมการศึกษาชุด เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ “โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ”. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

นฤดล ดาวดวง. (2554). เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง องค์ประกอบของดนตรี สำหรับนักเรียนโครงการจัดการศึกษานอกระบบ โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ปฏิมา ชนินทร์เศรษฐ์. (2557). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่องการแสดงระบำมาตรฐาน ชุด ระบำดาวดึงส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองเป็ด. ตรัง : โรงเรียนวัดหนองเป็ด.

พัชรียา ทองนพเก้า. (2553). การพัฒนาชุดระบบนาฏลีลาบูชาพรหม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์. (2559). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กาญจนบุรี: โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์.

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการ สู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: อี เค บุคส์.