คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัฒน์

ผู้แต่ง

  • ธันยารัตน์ พวงสาหร่าย นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ส่งเสริมประสิทธิภาพ, การบริหารงาน, ผู้บริหารท้องถิ่น

บทคัดย่อ

            องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ผู้บริหารท้องถิ่นจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้หน่วยงานมีความเจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จได้ หากหน่วยงานใด มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ย่อมส่งผลทำให้งานของหน่วยงานนั้นมีทั้งปริมาณและคุณภาพดีตามไปด้วย

            การปกครองท้องถิ่น เป็นการปกครองที่รัฐบาลกลางให้อำนาจหรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยงานการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกัน รัฐบาลของท้องถิ่นก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ดังนั้น การบริการการปกครองท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเองอันเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลาง แนวความคิดในการปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางการปกครองของรัฐในอันที่จะรักษาความมั่นคงและความผาสุกของประชาชน โดยยึดหลักการกระจายอำนาจปกครอง และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลและประชาชนในท้องถิ่นได้หาทางตอบสนองแก้ปัญหาด้วยตนเอง การใช้หลักธรรมมาประยุกต์เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นนั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

References

กิตติศักดิ์ แพรวพรายรัตน์. (2553). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

โกวิทย์ พวงงาม. (2546). หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัทกวี ศิริรัตน์ และคณะ. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การบริการสาธารณะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.

ธนพรรณ คชาชัย. (2554). ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารเทศบาลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย, วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นฤมล เมืองเดช. (2550). บทบาทสตรีกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ประทาน คงฤทธิศึกษากร. (2523). การปกครองเมืองพัทยา. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2528). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น: อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

สันติ โกเศยโยธิน. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในสังกัดส่วนโยธาในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุกัญญา อนุสกุล. (2548). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). การปกครองส่วนท้องถิ่นและอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อนันต์ อนันตกูล. (2521). กรมการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Robson William A. (1953). Local Govern men in Encyclopedia of Social Science. New York: The Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-07-2024

How to Cite

พวงสาหร่าย ธ. . (2024). คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 1(3), 24–36. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/972