การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง แบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาทธรรม
คำสำคัญ:
การบูรณาการหลักพุทธธรรม, เสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง, อิทธิบาทธรรมบทคัดย่อ
วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นปัจจัยประการสำคัญที่เป็นการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคม และเป็นตัวการที่ทำให้รูปแบบและลักษณะของระบบการเมืองในแต่ละสังคมแตกต่างกันไป การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาทธรรมมี 4 ประการดังต่อไปนี้ คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรเสียสละและการสนับสนุนทางการเมืองควรยึดมั่นและเชื่อถือเคารพในศักดิ์ศรีความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) ด้านความสำนึกในหน้าที่ของพลเมืองตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรแสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงานมีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน 3) ด้านตะหนักในผลกระทบของนโยบายตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรมีจิตสาธารณะ ระดมความคิดเพื่อกำหนดนโยบาย ยอมรับผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้น และ 4) ด้านมีความสนใจต่อกิจกรรมทางการเมืองตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรมีจิตสำนึกให้กับชุมชน สังคม ให้รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง ในการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง
วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเป็นผลิตผลของความรู้ ความคิด และความเชื่อทางการเมืองที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยสถาบันหลักที่สำคัญ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง และสถาบันสื่อมวลชน วัฒนธรรมจะสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมมนุษย์ ดังนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองจึงมีความสำคัญ คือ สร้างเสริมความชอบธรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการริเริ่มทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยสำคัญของการพัฒนาการทางการเมือง
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กมล สมวิเชียร. (2514). วัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
พนิตพิชา โคตรโสภา. (2556). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม”. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภูวน อุ่นจันทร์. (2548). “วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง”. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2545). สถาบันและกระบวนการทางการเมือง. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศรายุทธ นกใหญ่. (2558). “วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก”. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุนทร พูนเอียด. (2526). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มภาคใต้”. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). วัฒนธรรมทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2550). การเมืองแนวความคิดและการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2538). วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สุนทรออฟเซ็ท.
สุรสิทธิ์ อุตบุรี. (2541). “วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย”. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อานนท์ อาภาภิรมย์. (2542). สังคมวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพเทพมหานคร : บำรุงนุกูลจิต.
Barnouw V. (1963). Culture and Personality. Homewood Illinois: The Dorsey Press.