รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านลาดใหญ่
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, พฤติกรรมเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการ, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ โดยการใช้การวิจัยเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น ม.1-ม.3 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรม 3) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 4) แบบประเมินพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการของนักเรียน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียน 6) แบบสอบถามความคิดเห็นนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบตาราง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ ทำให้นักเรียนได้พัฒนาพฤติกรรมของตนเองมากขึ้นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สังคมต้องการ จากกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นการร่วมมือกันระหว่างครู นักเรียนและผู้ปกครอง และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมตามกรอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามรูปแบบได้เป็นอย่างดี เต็มใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมและมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงขึ้น และสิ่งสำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนให้บรรลุผลสำเร็จ คือ ความร่วมมือระหว่างบุคคลสามฝ่าย ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง บุคคลเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญที่จะพัฒนาพฤติกรรมนักเรียนให้เกิดผลประสบความสำเร็จไม่ว่าจะพัฒนาไปในทิศทางใด จุดหมายก็คือนักเรียนต้องบรรลุเป้าหมายหลักเพื่อให้เป็นคนดีของสังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขดำเนินชีวิตต่อไป
References
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศึกษา=Research methodology in behavioral sciences and social sciences. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.
นัยนา วงศ์โสภา. (2556). การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสันติธรรมวิทยาคมอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรีชา ริโยธา. (2560). การพัฒนางานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการใช้โครงการพัฒนาจิตในโรงเรียนบ้านแฝกโนนสำราญ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงเรียนคุรุสภาลาดพร้าว.
ภูษิต ล้ำสมภพ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
โรงเรียนบ้านลาดใหญ่. (2560). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปีกาศึกษา 2560. ชัยภูมิ: แผนงานวิชาการโรงเรียนบ้านลาดใหญ่.
สุพิศ จันทรบุตร. (2560). การพัฒนาจริยธรรมของเยาวชนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อันธิกา วงศ์จำปา. (2549). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.