การวิจัยเชิงพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
คำสำคัญ:
การวิจัย, เชิงพุทธศาสตร์, เพื่อการพัฒนาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหาวิจัยโดยใช้หลักการทางพุทธศาสนา คือ 1) ขยันทำงานทำการงานเลี้ยงชีพ 2) มีความเชื่อที่ถูกต้อง 3) เว้นจากการทำความชั่วทางกาย วาจา 4) การทำความดีทางกาย วาจา และใจ 5) ฝึกจิตให้เป็นสมาธิ 6) สร้างความรู้จริงเห็นแจ้งให้เกิดขึ้น โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความหมายข้อมูล การสรุปผลของงานวิจัย การนำเสนอผลงานวิจัย และการนำวิธีวิจัยมาใช้ในการศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาด้านสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นรูปแบบกระบวนการศึกษาหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อแก้ปัญหาที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญหน้าคือ ความทุกข์ จุดหมายสูงสุดในชีวิตของทุกคน คือ ความดับทุกข์ พระพุทธศาสนาและศาสนาทั้งหลายล้วนเกิดขึ้นจากความทุกข์ของมนุษย์ เพื่อแก้ปัญหาทุกข์ถ้าไม่มีทุกข์ในโลกนี้ ศาสนาอาจจะไม่เกิดขึ้น และถ้าไม่มีทุกข์ในโลกปัจจุบันศาสนาอาจจะไม่จำเป็น ความทุกข์คือความจริงของชีวิตซึ่งทุกท่านทราบดีว่าคือความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวในโลกที่ได้ศึกษาปัญหาเรื่องทุกข์อย่างละเอียดที่สุด และได้ให้วิธีแก้ทุกข์ที่ได้ผลที่สุดไว้ พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายได้วางชีวิตเป็นเดิมพัน ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติทดลองจนได้ผลแน่นอนมาแล้ว
คำสำคัญ: การวิจัย, เชิงพุทธศาสตร์, เพื่อการพัฒนา
References
ดร.ประพันธ์ ศุภษร, ผศ.สมควร นิยมวงศ์. (2551). การวิเคราะห์การใช้เหตุผลในพระไตรปิฎก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทองปลิว ชมชื่น. (2529). ปรัชญาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุนิสา ทดลาและคณะ. (2563). ปรัชญาการศึกษา = Philosophy of Education.-- กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).
ภิญโญ สาธร. (2521). หลักการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุภา.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2563). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563). คณะศาสนาและปรัชญา/ภาควิชาพุทธศาสตร์.
วรวิทย์ วศินสรากร. (2549). ปรัชญากับการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศักดา ปรางค์ประทานพร. (2526). ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุรินทร์ รักชาติ. (2529). การเปรียบเทียบความเชื่อทางปรัชญาการศึกษาระหว่างผู้บริหาร อาจารย์ และ นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสง จันทร์งาม. (2544). พุทธศาสนวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุคส์.
แสง จันทร์งามและคณะ. (2553). พระไตรปิฎกสำหรับผู้บวชใหม่และชาวพุทธทั่วไป. กรงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.