การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุตามแนวอปริหานิยธรรม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ผู้สูงอายุ, อปริหานิยธรรมบทคัดย่อ
ในปัจจุบันสังคมไทยยอมรับความสามารถของผู้สูงอายุมากขึ้นโดยมองว่าผู้สูงอายุคือขุมทรัพย์ของสังคมมิใช่เป็นคนแก่ที่ไร้ค่า ผู้สูงอายุเปรียบดั่งร่มโพธิ์ร่มไทรเป็นที่พึ่งพิงทางใจและเป็นที่เคารพนับถือของบุตรหลาน ปัจจุบันสังคมไทยยอมรับความสามารถของผู้สูงอายุมากขึ้น มองว่าผู้สูงอายุคือขุมทรัพย์ของสังคมเพราะผู้สูงอายุเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยประสบการณ์สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ของตนเข้ากับวัยอื่นๆ ได้มิใช่เป็นคนแก่ที่ไร้ค่าของสังคม เปรียบได้ว่าผู้สูงอายุเป็นเสาหลักของครอบครัวและเป็นคลังทางปัญญาที่ทรงพลังในการถ่ายทอดมรดกทางสังคมให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน
การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุมี 3 ประการ 1) ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามหลักอปริหานิยธรรม ผู้สูงอายุควรยอมรับกฎกติกาในการเลือกตั้งทั้งให้ความเคารพต่อความเห็นต่างของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งท่านอื่น ผู้สูงอายุควรเลือกลงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครที่ไม่กระทำผิดกติกา หรือกฎหมายของบ้านเมืองเป็นสำคัญ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรณรงค์หาเสียงตามหลักอปริหานิยธรรม ผู้สูงอายุควรร่วมรณรงค์ให้บุคคลอื่นหรือเพื่อนบ้านเคารพและรับฟังความคิดเห็นรวมถึงความเห็นต่างของบุคคลอื่นที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
3) ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรทางสังคมตามหลักอปริหานิยธรรม ผู้สูงอายุควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคารพกฎหมาย กฎเกณฑ์ของสังคม ผู้สูงอายุควรมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบังคับของชุมชนเกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกันให้กับคนในพื้นที่ในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
References
บรรณานุกรม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมอนามัย. (2556). คู่มือแนวทางการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
เกษม ตันติผลาชีวะ และกุลยา ตันติผลาชีวะ. (2548). การรักษาสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.
จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ. (2536). การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการพัฒนาตำราสาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูศักดิ์ เวชแพทย์. (2538). สรีรวิทยาของผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศุภวนิชการพิมพ์.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2518). ระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร.
บุญร่วม เทียมจันทร์. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : THE LAW GROUP.
บรรลุ ศิริพานิช. (2538). คู่มือผู้สูงอายุ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์หมอชาวบ้าน.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
พระครูศรีเมธาภรณ์ (ประภาส สายแก้วดี) และคณะ. (2565). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน.
พระครูศรีเมธาภรณ์ (ประภาส ตธมฺโม). (2564). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธีระยุทธ านรโต (รักสกุล). (2565). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย : วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง”. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 79. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
แสวง รัตนมงคลมาศ. (2516). “พฤติกรรมในการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2510 : ศึกษากรณี เทศบาลเมืองขอนแก่นและมหาสารคาม”. รายงานการวิจัย. ทุนอุดหนุนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2554). จิตวิทยาผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.