การพัฒนาหลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียนสำหรับนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้านลาดใหญ่
คำสำคัญ:
การพัฒนา, หลักสูตรเสริม, วินัยในการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างหลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียน 2. หาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียน โดยมีรูปแบบการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาและการกำหนดโครงสร้างของหลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียน 2) การร่างหลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียน 3) การพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียน และ 4) การหาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริม โดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 เป็นเวลา 30 ชั่วโมง แล้วทำการตรวจสอบหาประสิทธิผลของหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการมีวินัย 2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียน มี 2 ส่วน คือ 1.1) องค์ประกอบของหลักสูตรเสริม มี 7 ประการ (1) หลักการของหลักสูตรเสริม (2) แนวคิดพื้นฐานในการสร้างหลักสูตรเสริม (3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเสริม (4) เนื้อหาและระยะเวลาของหลักสูตรเสริม (5) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (6) สื่อการจัดการเรียนรู้ และ (7) การวัดผลและประเมินผล 1.2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 5 แผน (1) สาระ เบื้องต้นเกี่ยวกับการมีวินัยในการเรียน (2) การตรงต่อเวลาในการเรียน (3) ความรับผิดชอบในการเรียน (4) ความขยันหมั่นเพียรในการเรียน และ (5) ความซื่อสัตย์ในการเรียน
2. ประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมด้านการมีวินัยในการเรียน คือ 2.1) นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการมีวินัยในการเรียนหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตร และ 2.2) นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัติเกี่ยวกับการมีวินัยในการเรียนได้ในระดับดี
References
เอกสารอ้างอิง
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล กรุงเทพฯ : สุวีริสาส์น, 2545.
ประจักษ์ ปราบงูเหลือม. การเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนโนนสูงศรีธานี อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสาคาม, 2547.
ปรียานุช สถาวรมณี. การพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
รัชนีกร ไพศาล. การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะศิลปะ ด้านการวาดภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแกนนำการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2547.
รุ่งทิพย์ หอมวิไลย. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความเป็นคนดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มศรีนครินทร์กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล. การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในกระบวนการพยาบาล. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. การศึกษาแนวทางการบริหารในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543.
สุภาพร ขนันเยี่ยม. การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำขุ่นโนนผางาม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2561.
สมเดช สุภาคีรีวัลย์. การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2548.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. “วินัยนักเรียน” ในสารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖0 ปี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค., 2550.
สิริวัส ชนะค้าโชติสิริ. การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาการมีวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มยสาร, ปีที่ 13, ฉบับที่ 3 (ก.ย. - ธ.ค. 2558) หน้า 189 -201. 2558.