คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัฒน์

ผู้แต่ง

  • พระศรีสัจญาณมุนี (สุมินทร์ ก่อบุญ) วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พูนศักดิ์ กมล วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บัวอ่อน วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, ภาวะผู้นำ, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

            ความสำคัญของภาวะผู้นำ เมื่อมนุษย์เรามาอยู่ร่วมกันมากๆ จำเป็นต้องมีผู้นำ ซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นหัวหน้าหรือผู้ปกครอง ผู้นำจึงมีความสำคัญดุจเข็มทิศที่จำเป็นสำหรับการเดินเรือหรือคนเดินทาง และเสาเข็มที่มีความจำเป็นต่อการสร้างบ้าน อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างหลักจริยธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมอีกด้วย

            ในทางปกครองกล่าวถึงคุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัฒน์ไว้ว่ามี 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านคุณลักษณะ ผู้นำควรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ รอบรู้พระธรรมวินัยและกฎหมายบ้านเมือง เป็นผู้ที่มีความอดทนสูงกว่าบุคคลทั่วไป มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มีรูปร่างสมบูรณ์สมส่วน และมีบุคลิกดี 2. ด้านพฤติกรรม พฤติกรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผู้นำอีกประการหนึ่งในการปกครอง เพราะถือว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ผู้ตามจะนำไปยึดถือปฏิบัติ หากผู้นำมีพฤติกรรมหรือประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ดีที่ชอบ ก็จะส่งผลให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติตามไปด้วย 3. ด้านตามสถานการณ์ ผู้นำควรมีไหวพริบปฏิภาณปรับเปลี่ยนวิธีการในการปกครองบริหารจัดการไปตามสถานการณ์ได้อย่างกลมกลืนเหมาะสมตามสถานการณ์นั้นๆ กล่าวคือสามารถประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า มีการวางแผนเป็นขั้นตอนแสดงออกถึงความมีภาวะความเป็นผู้นำเพื่อรับมือและแก้ไขได้ในทุกๆ สถานการณ์ 4. ด้านการเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ต้องเป็นคนที่มองเห็นภาพในอนาคตที่คนอื่นมองไม่เห็น มองเห็นโอกาสในอนาคตได้ และเมื่อมองเห็นภาพอนาคตแล้วก็ต้องสามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างชัดเจนและทำได้จริง เป็นแบบอย่างความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองและบริหารจัดการด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ทันสมัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

References

กัลยารัตน์ ธีรธนชัยกุล. (2558). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในประเทศไทย”. รายงานการวิจัย. เงินทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จักรี จารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโณ. (2561). “ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ พฤศจิกายน-ธันวาคม 2561.

จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ธันวาคม 2562.

ณัฐธิกา จีทา. (2560). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอบ้านค่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1”. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2561). “ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด”. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561.

นฤนันท์ สุริยมณี และผศ.ประเสริฐไชย สุขสะอาด. (2554). “การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล”. วารสารวิทยบริการ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554.

ปรัชญา ภักดีศุภผล และคณะ. (2563). “การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 18”. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. (2556). “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554”. ฉบับพิเศษเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

พระราชพุทธิญาณวงศ์. (2540). คู่มือวิทยากรอบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาธรการพิมพ์.

“พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505”. (2505). ราชกิจจานุเบกษา 39 ธันวาคม 2505.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย พระวินัยปิฎกสมันต

ปาสาทิกา ภาค 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐพล ฤทธิธรรม และโพชฌ์ จันทร์โพธิ์. (2564). “ภาวะผู้นำและมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสมัยใหม่ที่มีประสิทธิผลสูง”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เมษายน 2564.

วิมลพรรณ ช่างคิด. (2560). “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในภาคตะวันออก”. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เสถียร ทั่งทองมะดัน. (2560). “รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์”. เอกสารประกอบการสอนวิชารัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2544). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิรัตน์ เอ็คดูเคชั่น.

สุเมธ บุญมะยา. (2564). “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักปฎิจจสมุปบาท”. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-05-2024

How to Cite

(สุมินทร์ ก่อบุญ) พ., กมล พ. ., & บัวอ่อน ส. (2024). คุณลักษณะภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 1(2), 1–12. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/888