ภาวะผู้นำกับการบริหารตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การบริหาร, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
ในสังคมปัจจุบัน บทบาทสำคัญของภาวะผู้นำเป็นหลักการสำคัญที่ผู้นำทุกคนจะต้องมีซึ่งในปัจจุบันความเจริญด้านวัตถุนิยมได้แผ่หลายทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมวัตถุนิยมต่างคนต่างมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์ตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพราะต่างก็ตกอยู่ในอำนาจวัตถุนิยมโดยมองข้ามหลักคุณธรรมจริยธรรมอันดีทำให้เห็นห่างจากหลักพุทธธรรมไป ผู้นำที่ประพฤติตนตามหลักธรรมนั้นหายาก ผู้นำที่ไร้ธรรมย่อมไม่สามารถจะยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นได้ ซ้ำยังให้ผู้ตามเกิดความไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่เป็นที่น่าวางใจจนกระทั้งไร้ภาวะผู้นำ
พุทธธรรม คือ หลักธรรมสำหรับผู้นำในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ผู้นำจำเป็นจะต้องมีหลักธรรมจึงสมควรจะเป็นผู้นำได้ เช่น มีคุณความดี มีความรู้ และความสามารถ เป็นต้น โดยบทความนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอประเด่นสำคัญ ได้แก่ กำเนิดภาวะผู้นำกับการบริหารตามแนวพระพุทธศาสนา ความหมายภาวะผู้นำกับการบริหารตามแนวพระพุทธศาสนา แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำกับการบริหารตามแนวพระพุทธศาสนา คุณลักษณะภาวะผู้นำกับการบริหารตามแนวพระพุทธศาสนาเท่านั้น
References
กิติ ตยัคคานนท์. (2543). เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: เปลวอักษร.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2527). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วม. เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การหน่วยที่ 11 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทวรรณ อิสรานุวัฒน์ชัย. (2550). “ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์: ศึกษาจากหลักพุทธธรรม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
พระครูศิริจันทนิวิฐ (บุญจันทร์ เขมกาโม). (2549). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: นิติธรรมการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). หลักธรรมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มงคลชัยพริ้นติ้ง.
เฟรด อี ฟีดเลอร์, มาร์ติน เอ็ม เซเมอรส์ และลินดา มาฮาร์. (2531). ค้นหาความเป็นผู้นำ. เรียบเรียงโดยชูชัย สมิทธิไกร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มนตรี พีรพลพิพัฒน์. (2540). “จริยธรรมกับภาวะผู้นำ: ศึกษาทัศนะนักวิชาการรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งประเทศที่มีต่อผู้นำทางการเมือง”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2538). ทฤษฎีและเทคนิคปฏิบัติสำหรับยอดหัวหน้างาน. กรุงเทพฯ: บริษัทชีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
สุรศักดิ์ ม่วงทอง. (2543). “พุทธธรรมกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
Terry George R. (1972). Principle of Management. 6thed. Home WoodIl: Richard D.Irwin.
Ralph M. Stogdill. (1974). Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. New York: Free Press.