รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

ผู้แต่ง

  • วีระกิตติ์ เอกอัครวิจิตร นักวิชาการอิสระ
  • สุเนตร ธนศิลปพิชิต วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ไพทูรย์ มาเมือง วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, รูปแบบการมีส่วนร่วม, การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้การดำเนินกิจการใดๆ ในชุมชน จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมภายในชุมชน การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมก็จะก่อให้เกิดเป็นพลังชุมชนที่มีความเข้มแข็ง จะเห็นได้จากชุมชนที่มีความเข้มแข็งจะก่อให้เกิดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Spectrum) 5 ระดับ คือ (1) ระดับให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform) เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางเลือกและทางแก้ไข (2)ระดับรับฟังความคิดเห็น (Consult) เพื่อได้รับข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับสภาพปัญหาทางเลือกและแนวทางแก้ไข (3) ระดับเข้ามามีบทบาท (Involve) เพื่อร่วมทำงานกับประชาชนเพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่าความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะได้รับการพิจารณา (4) ระดับสร้างความร่วมมือ (Collaborate) เพื่อเป็นหุ้นส่วนกับประชาชนในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่ระบุปัญหา พัฒนาทางเลือกและแนวทางแก้ไข (5) ระดับเสริมพลังอำนาจ (Empower) เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งรูปแบบการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนที่บัญญัติไว้ใน หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการส่วนท้องถิ่น (3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการจัดทำประชาพิจารณ์ (4) การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น (5) การมีส่วนร่วมในการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น (6) การมีส่วนร่วมในการลงประชามติ เช่น การร่างกฎหมาย หรือโครงการใหญ่ๆ (7) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

References

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2551). คูมือการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

ธัชพล ยรรยงค์. (2560). “การเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ จังหวัดน่าน”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ.

เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่ากรอบคิดข้อจำกัดและการวิเคราะห์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: วารสารพัฒนาชุมชน.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนตรี กรรพุมมาลย์ และภูทชงค์ กุณฑลบุตร. (2546). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดประชาสังคมกับการปกครองท้องถิ่น การเมืองและการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมกาเพรส จำกัด.

สมาคมนานาชาติด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (International Association for Public Participation หรือ IAP2) อ้างใน อรทัย ก๊กผล และคณะ. (2556). การบริหารปกครองสาธารณะการบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2540). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). ตัวอย่างการดำเนินงานพัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่ของหน่วยงานองค์กรส่วนกลาง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2552). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการประชาชน.

อคิน ระพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์,

อรทัย ก๊กผลและคณะ. (2556). การบริหารปกครองสาธารณะการบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย ก๊กผล. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการมีส่วนร่วมของประชาชน. บรรณาธิการโดย พัชรี สีโรรส. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-03-2024

How to Cite

เอกอัครวิจิตร ว. . ., ธนศิลปพิชิต ส. ., & มาเมือง ไ. . . (2024). รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 1(1), 22–32. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/685