คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
คุณลักษณะผู้นำ, ผู้นำที่พึงประสงค์, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การที่มนุษย์เรามีการอยู่ร่วมกันมากๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำ ผู้นำจึงมีความสำคัญดุจเข็มทิศที่จำเป็นสำหรับคนเดินทางและเสาเข็มที่มีความจำเป็นต่อการสร้างบ้านเรือน นอกจากนั้นผู้นำยังเป็นผู้สร้างหลักคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมและองค์กรต่างๆ ซึ่งหากต้องการทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคม ต้องดูผู้นำเป็นหลัก
ในทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของผู้นำไว้เปรียบเสมือนโคจ่าฝูงจะเห็นได้ว่า คุณลักษณะผู้นำที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกมีอยู่ 2 คุณลักษณะ คือ 1) คุณลักษณะทางกายภาพ คือ คุณลักษณะภายนอก ผู้นำหรือผู้ปกครองที่มีบุคลิกดีย่อมส่งผลทางด้านจิตวิทยาได้เป็นอย่างมาก คือ จะทำให้ผู้ที่พบเห็นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกยกย่องชื่นชม เพราะลักษณะทางกายภาพของผู้นำเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบารมีของผู้นำเอง 2) คุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรม คือ คุณลักษณะภายใน ซึ่งถือกันว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ปกครองหรือผู้นำ เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอำนาจ ผู้นำหรือผู้ปกครองที่มีคุณธรรมจริยธรรมย่อมสามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้ตามได้ ผู้ปกครองหรือผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรมย่อมปกครองโดยชอบธรรมอันจะก่อให้เกิดความสุขความเจริญให้กับตน ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้อย่างแน่นอน
References
ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ เอสพริ้งติ้งเฮ้า.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัทเซ็นทรัลเอ็กซ์เพรสจำกัด.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
พระครูศิริจันทนิวิฐ (บุญจันทร์ เขมกาโม). (2549). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: นิติธรรมการพิมพ์.
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2542). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ SK BOOKNET.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: บริษัทนานมี บุ๊คพับลิเคชั่น.
วุฒิชัย จำนงค์. (2523). พฤติกรรมการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เสถียร ทั่งทองมะดัน. (2560). “รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์”. เอกสารประกอบการสอนวิชารัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2544). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิรัตน์ เอ็คดูเคชั่น.
สุพัตรา สุภาพ. (2545). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวิน สุขสมกิจ. (2523). “พุทธปรัชญากับการสร้างเสริมภาวะผู้นำ: กรณีศึกษากำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dejnozka. (1983). Educational administration glossary. Westport CT: Greenwood.
Fiedler. (1967). A theory of leadership effectiveness. New York: McGraw-Hill.
Normand L. Frigon Sr. & Harry K. Jackson Jr. (1996). The Leader: Developing the Skills & Personal Qualities You Need to Lead Effectively. New York: American Management Association.