การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อยกระดับการปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การบูรณาการหลักพุทธธรรม, ยกระดับ, การปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อยกระดับ การปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการ บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อยกระดับการปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และ 3) นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อยกระดับความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้น จำนวน 65,895 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่ (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อยกระดับการปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (=4.02) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียง ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย (
=4.26) ด้านการสนองตอบความต้องการของท้องถิ่นตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ (
=4.24) ด้านทำให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักการปกครองตนเอง (
=4.21) ด้านเป็นการยึดหลักการกระจายอำนาจ (
=4.20) ด้านการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล (
=4.18) ด้านเป็นแหล่งสร้างผู้นำทางการเมืองและการบริหารของประเทศในอนาคต (
=4.17) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อยกระดับการปกครองท้องถิ่นในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผลการนำเสนอ พบว่า (1) ด้านเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ควรส่งเสริมให้ประชาชนรู้คุณค่าของสถาบัน มีความรักและสามัคคี ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศชาติ (2) ด้านทำให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักการปกครองตนเอง ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของประชาชน แก้ปัญหาชุมชนตามหลักการและเหตุผล (3) การแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ควรกระจายอำนาจ ใช้เวลาให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด แก้ไขปัญหาทันต่อสถานการณ์ มีความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจ (4) ด้านการสนองตอบความต้องการของท้องถิ่นตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ ควรมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาในพื้น ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์ พร้อมทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม (5) ด้านเป็นแหล่งสร้างผู้นำทางการเมืองและการบริหารของประเทศในอนาคต ควรมีผู้บริหารที่ดีมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงานและมีเหตุผล (6) เป็นการยึดหลักการกระจายอำนาจ ควรให้ความสำคัญกับชาวบ้านมีการตัดสินใจร่วมกับประชาชนในการบริหารจัดการ มีการประสานงานกับผู้นำชุมชน
References
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเนศพริ้นติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.
พระครูรัตนสุตากร (ปราโมทย์ ล่องแก้ว) และคณะ. (2563). “การพัฒนาการเมืองตามหลักพุทธธรรม”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ตุลาคม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย Thailand information Center. (2567). อำเภอภูเขียว. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://chaiyaphum.kapook.com/ [10 กุมภาพันธ์ 2566].
ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์. (2561). “จริยธรรมของนักการเมืองในระบบการเมืองไทย”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.
สุวัสดี โภชน์พันธุ์. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด.
Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.
Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.