ภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักปุริสธรรม 7
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, หลักปุริสธรรม 7, นักการเมืองบทคัดย่อ
ภาวะผู้นำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ ที่จะกำหนดหรือชักจูงให้กลุ่มสมาชิกในองค์การทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และการมีอิทธิพลต่อกลุ่มต่าง ๆ ในองค์การ ผู้นำนั้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของงานและองค์การ ภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักปุริสธรรม 7 มีความสำคัญ ผู้นำนักการเมืองที่มีคุณภาพ มีสติปัญญา ความดีงาม ความรู้ความสามารถ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 สามารถสร้างความเจริญทั้งต่อภาคธุรกิจและภาคสังคมได้เป็นอย่างดี ดังนี้
หลักสัปปุริสธรรม 7 คือ 1) ธัมมัญญุตา รู้หลักการ เมื่อดำรงตาแหน่ง มีฐานะ หรือจะทำอะไรก็ตาม ต้องรู้หลักการ รู้งาน รู้หน้าที่ รู้กฎเกณฑ์กติกาที่เกี่ยวข้อง 2) อัตถัญญุตา รู้จุดหมาย ผู้นำถ้าไม่รู้จุดหมายก็ไม่รู้ว่าจะนำคนและกิจการไปไหนนอกจากรู้จุดหมาย 3) อัตตัญญุตา รู้ตน คือ ต้องรู้ว่าตนเองคือใครมีภาวะเป็นอะไร อยู่ในสถานะใด มีคุณสมบัติ มีความพร้อม มีความถนัด สติปัญญา ความสามารถอย่างไร มีกำลังแค่ไหน มีข้อยิ่งข้อหย่อน จุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ซึ่งจะต้องสำรวจตนเอง และเตือนตนเองอยู่เสมอ 4) มัตตัญญุตา รู้ประมาณ คือ รู้จักความพอดี 5) กาลัญญุตา รู้กาล คือ รู้จักเวลา 6) ปริสัญญุตา รู้ชุมชน คือ รู้สังคมตั้งแต่ในขอบเขตที่กว้างขวาง คือ รู้สังคมโลก รู้สังคมของประเทศชาติว่าอยู่ในสถานการณ์อย่างไร 7) ปุคคลัญุตา รู้บุคคล คือ รู้จักบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนที่มาร่วมงานร่วมการร่วมไปด้วยกัน และคนที่เราไปให้บริการตามความแตกต่างเฉพาะตัว เพื่อปฏิบัติต่อเขาได้ถูกต้องเหมาะสม และได้ผล