ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิภาดา เลิศธนาวิวัฒน์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ผิน ปานขาว วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, การบริหารงาน, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคาดหวังของประชาชน ต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และ 2) เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชน ต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล 9 หมู่บ้านจำนวน 7,560 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 379 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามลำดับ

          2.       ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางที่มี เพศ การศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคาดหวังต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน อธิบายได้ว่า อบต.เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายแผนงานต่างๆ เมื่อประชาชนรับรู้บทบาทก็จะให้ความร่วมมือมากขึ้น

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2550). รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

กัมปนาท ปรานอก. (2557). ความพึงใจของประชาชนต่อการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

ดวน ฤทธิ์จอหอ. (2563). ความต้องการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

เทวกร แก้วศรีเพ็ญ. (2563). บทบาทการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

นริทธิ์ สุขอำไพจิตร. (2556). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลทับช้าง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระบรรพต ตยานนฺโท (ปิ่นสง). (2556). ความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รชพล ศรีขาวรส. (2562). ทัศนคติของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. ลงวันที่ 6 เมษายน 2561.

วัฒนา ขัตยะตินนท์. (2557). ความความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริหารของเทศบาลตำบล : ศึกษากรณีเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

สุพจน์ ศรีสวย. (2562). ความคาดหวังของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตตําบลปากกราน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

องค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง. (2566). ข้อมูลทั่วไป. เข้าถึงข้อมูลได้จาก https://www.tambonnaklang.go.th/index.php.

อนุวัตร สงจวง และวัลลภ พิริยวรรธน. (2566). ความคาดหวังของประชาชนต่อผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลช่องแค อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 9(8) สิงหาคม 2566. 1893-1906.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd). New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

เลิศธนาวิวัฒน์ ว. ., & ปานขาว ผ. . (2025). ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์, 3(1), 13–25. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR/article/view/1247