“ผู้ไทเรณูนคร”: อัตลักษณ์ของชาติพันธ์กับการบูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนอุเทนพัฒนา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ผู้ไทเรณูนคร, อัตลักษณ์ของชาติพันธ์, การบูรณาการบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ภูไทในพื้นที่ชุมชนเรณูนคร จังหวัดนครพนม 2) บูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนอุเทนพัฒนา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้รู้ ได้แก่ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้อาวุโสหรือผู้มีความรู้ในท้องถิ่น 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ครู นักเรียน ชาวบ้านที่เป็นผู้ไท เรณูนคร 3) กลุ่มบุคคลทั่วไป ได้แก่ ประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครพนม การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ไทเรณูนคร ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มีศิลปวัฒนธรรมและ วิถีชีวิตที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีนิสัยส่วนตัวรักความสงบ อยู่กันอย่างสันติ มีความรักและหวงแหนใน เผ่าพันธุ์ มีขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม การแต่งกาย ดนตรี ความเชื่อและภาษาพูดที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ 2) การบูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจชุมชน เพื่อให้รู้จักชุมชนของตนเองเพื่อตั้งประเด็นการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการเก็บข้อมูลอย่างมีกระบวนการ ขั้นตอนที่ 3 ลงพื้นที่ ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ความรู้ตามวิธีการ ทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วย 1) การตั้งประเด็นศึกษา 2) การเสาะหาแหล่งข้อมูลหลักฐาน 3) การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน 4) การวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินคุณค่าหลักฐาน 5) การตีความเพื่อตอบประเด็นศึกษา 6 ) การนำเสนอเรื่องราวได้อย่างมีหลักฐาน มีเหตุผลและน่าสนใจ
References
Hong, P.Y., A. Sheriff and S. Naeger. (2009).“A Bottom-up Definition of Self- sufficiency:Voices from Low-income Jobseekers,” Oualitative Social Work. 8(3) : 357-376.
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาวัฒนธรรม.(2564).โรงเรียนอุเทนพัฒนา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ของวรานันท์ ฉายารัตน์(2564) “การท่องเที่ยวเศรษฐกิจตามเส้นทาง EEC”: พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกเพื่อการบูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 2.หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาสังคมศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยทองสุข.
ชัยบดินทร์ สาลีพันธ์. (2540). ประวัติชนชาติภูไท หรือผู้ไท เรณูนคร. ม.ป.ท.: อัดสาเนา.
ถวลิ ทองสวา่งรัตน์.(2529).ประวัติผู้ไทยและชาวผู้ไทยเมืองเรณูนคร. พิมพ์คร้ังที่3.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศรีอนันต์.
นพดล ตั้งสกุล,จันทนีย์ วงศ์คำ.(2548).คติความเชื่อและระบบสังคม กับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท. ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น:ขอนแก่น.
นฤทร์บดินทร์ สาลีพันธ์.(2564). อัตลักษณ์นาฏยศิลป์ชาติพันธุ์เรณูนครในสังคมวัฒนธรรมรัฐชาติไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและสร้างศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยเชิงสังคมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์.วิทยาลัยทองสุข.โรงพิมพ์ที่คอม.มหาสารคาม.
พระวีระศักดิ์ จนฺทวํโส (2561) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาสังคมศึกษา.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
มณีรัตน์ ศุภานุสนธิ์. (2560). การสอนสังคมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/117433
ฤทัยพรรณ ทองจับ.(2564).ประเพณีชักพระ : การบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านคลองขุดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล.หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาสังคมศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยทองสุข.
สกาวรัตน์ บุญวรรโณ เกษตรชัย และหีม และ บัณฑิตา ฮันท์. (2563). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่
สุนทรชัย ชอบยศ.(2562). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ว่าด้วยแนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน. มหาสารคาม. โครงการผลิตและเผยแพร่ตำราและผลงานวิชาการ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อนุตรศักดิ์ วิชัยรัตน์.(2564).ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม : การบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาสังคมศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยทองสุข.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.