การสร้างสรรค์ภาพถ่ายเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ช้างไทย

ผู้แต่ง

  • รัฐพล พรหมมาศ

คำสำคัญ:

การสื่อสารด้วยภาพ, ช้างไทย, การอนุรักษ์ช้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ หนึ่ง ศึกษารูปแบบการสื่อสารด้วยภาพเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ช้างไทย และสอง เพื่อจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายภาพช้าง การประกวดถ่ายภาพและการแสดงผลงานภาพถ่ายเพื่อการอนุรักษ์ช้าง “คนกับช้าง” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสนทนากลุ่ม และผลสรุปการประเมินโครงการ

            ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสื่อสารด้วยภาพถ่ายนั้นจะต้องเป็นภาพเชิงบวก โดยเริ่มต้นจากการให้ความรู้ความเข้าใจว่าช้างไทยที่ถูกเลี้ยงนั้น มิได้เป็นการทารุณกรรมสัตว์ การสร้างเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้าง และการถ่ายภาพช้างอย่างถูกต้องเหมาะสม ผลสรุปจากโครงการนั้นพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับช้างไทย สามารถทำการถ่ายภาพเพื่อสื่อสารถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนและช้างได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผลงานภาพที่จัดแสดงนิทรรศการ สามารถสื่อสารให้เด็ก เยาวชน และสาธารณชนเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทย และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทยต่อไป

References

กนกรัตน์ ยศไกร. (2551). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ปานัฏสิริ จันทร์ศิริ (2539). ค่านิยมในการอนุรักษ์ช้าง. กรุงเทพฯ. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย.

(1) 43 – 50

โปรดปราน รังสิมันตุชาติ. (2557). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของศูนย์อนุรักษ์

ช้างไทยจังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

ผาสุข อินทราวุธ. (2547). ช้าง : สัตว์ที่มนุษย์ยกย่อง. วารสารหน้าจั่ว, 2 (2004) 4 - 13

ภัทรี ภัทรโสภสกุล. (2561). การเล่าเรื่องโดยใช้สื่อดิจิทัลในการรายงานข่าวภัยพิบัติของสำนักข่าว

CNN. การศึกษารายบุคคลนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วุฒิไกร พิมพขันธ์ และคณะ. (2564). การออกแบบและพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริม

จิตสำนึกการอนุรักษณ์ช้างไทย.กรุงเทพฯ : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, 1 (1) 53 - 64

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

(2566). [ออนไลน์] งานวิจัยช้างไทย. [สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566].

จาก http://www.asianelephantresearch.com/,

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย (2566). [ออนไลน์] ช้างในประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อ30 พฤศจิกายน 2566].

จาก http://www.thailandelephant.org/th/thaielephant.php

สมหมาย ชินนาค และ กาญจนา ชินนาค (2562). ควาญช้างข้ามพื้นที่*วัฒนธรรมภายใต้บริบทของ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. เชียงใหม่ : วารสารสังคมศาสตร์, 31 (1) 46 – 79

เสาวรีย์ ชัยวรรณ และ วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2562). คน/ช้าง/การเคลื่อนย้าย และชีวิตเร่ร่อนในโลก

สมัยใหม่. เชียงใหม่ : วารสารสังคมศาสตร์, 31 (1) 11 - 45

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024