แนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นเชิงพุทธ

ผู้แต่ง

  • ปรธภร ปุระกัน

คำสำคัญ:

วัฒนธรรม, การอนุรักษ์, เชิงพุทธ

บทคัดย่อ

แนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นเชิงพุทธ การอนุรักษ์ หมายถึง การดูแลรักษา สงวน ปรับปรุง ให้คงคุณค่าไม่ให้สูญหายไป และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่มนุษย์ การอนุรักษ์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องปลูกฝังให้เห็นความสำคัญ คุณค่า ประโยชน์ รักษาเอาไว้ให้สืบทอดยาวนานคู่กับวิถีชีวิตของมนุษย์ชาติตลอดไป ประกอบไปด้วย (1) การสงวนรักษา การดูแลรักษาไว้ตามสภาพ เดิมเท่าที่เป็นอยู่และป้องกันไม่ให้เสียหายต่อไป (2) การปฏิสังขรณ์ การทําให้คืนสู่สภาพเดิมที่เคยเป็นมา และ (3) การบูรณะ การซ่อมแซม ปรับปรุงให้มีรูปทรงลักษณะกลมกลืนเหมือนของเดิมมากที่สุดเท่าที่จะมากได้แต่ต้องแสดงความแตกต่างของสิ่งที่ มีเดิมกับสิ่งที่ทําขึ้นใหม่

          หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น คือ (1) หลักสังคหวัตถุ 4 คือมีการช่วยเหลือสงเคราะห์กันในชุมชน (2) หลักทิศ 6 คือ มีการปฏิบัติตนตามสมควรแก่สถานะ (3) หลักคารวตา 6 คือมีการให้ความสําคัญต่อการแสดงออกถึง ความเคารพ (4) คือหลักความกตัญญู คือมีการแสดงความกตัญญูต่อบุพพการีบุคคล (5) หลักสาราณียธรรม คือ มีการปฏิบัติที่เป็นเหตุผูกใจให้ระลึกถึงกัน (6) หลักอปริหาณียธรรม ๗ คือมีการ ปฏิบัติเพื่อความมั่นคงเข้มแข็งในชุมชนท้องถิ่น

References

กระทรวงวัฒนธรรม.(2556). คู่มือการดําเนินงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศกระทรวง วัฒนธรรม: โครงการรากวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร: สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

กรมศิลปากร.(2544).คู่มือถวายความรู้แดนพระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สมานพันธ์ จํากัด.

บำรุง บุญปัญญา.(2549). 3 ทศวรรษ แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน โรงพิมพ์เดือนตุลาคม กรุงเทพฯ.

บรรพต วีรสัยและคณะ.(2532).พระสงฆ์กับสังคมไทยโดยพิจารณาในเชิงสังคมเศรษฐกิจการเมือง และการปกครอง : กรณีศึกษาวัดในกรุงเทพมหานครและ ฉะเชิงเทรา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี.(2550). พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร : หมอ ชาวบ้าน.

พระเทพเวที(ประยุทธ์ ปยุตฺโต).(2525).พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551).วัฒนธรรมไทย.กรุงเทพมหานคร: โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จันทร์สูรย์ และประทีป อินแสง.(2541).การศึกษากับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วีระ บํารุงรักษ์.(2540).ระบบการบริหารจัดการวัฒนธรรมสําหรับสํานักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติกรมศิลปากร.กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

นิคม มุสิกะคามะ.(2545). วัฒนธรรมบทบาทใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์.กรุงเทพมหานคร: รุ่ง ศิลป์การ พิมพ์.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ.(2543).สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จํากัด (มหาชน).

สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์.(2542).การอนุรักษ์ศิลปกรรม.เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024