การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เกม โรงเรียนวัดทุ่งเหียง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ 3170600484
  • ธนา โยธาชัย
  • ชุติมา พรราย
  • สุธิดา ไชยชนะ

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร, การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เกม

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เกม 2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เกม 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เกม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดทุ่งเหียง จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.แบบประเมินความสอดคล้องของการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน 3.แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เกม เรื่องวัฏจักรน้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.29/85.57 ผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้เกม มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ 12.14 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.28 ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาใช้ในกิจกรรมการเล่นเกม ทำให้ผู้เรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง และมีสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น

Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

นนทบุรี

References

กนกรัตน์ วุฒิวิชาภรณ์. (2555). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับวิธีเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทวารวดี จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรรณิการ์ กวางคีรี. (2557). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กัญญาณี ใบเนียม และ มะยูโซ๊ะ กูโน. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมการศึกษาเรื่องตารางธาตุ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช และคณะ. (2557). สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

คำศักดิ์ พิชญานุรัตน์. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนรูปแบบสืบเสาะหาความรู้(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2557). การใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรวัฒน์ ดวงใจดี. (2556). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผ่องศรี กองสิงห์. (2556). รายงานการพัฒนาเกมวิทยาศาสตร์ที่ใช้เสริมในการจัดการเรียนรู้ แบบกระบวนการสืบเสาะหา ความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม(รายงานผลการวิจัย).เชียงราย.

รอฮานิง เจ๊ะดอเล๊าะ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะการบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ปัตตานี:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

รุ่งอรุณ กันเหตุ. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทางวิทยาศาสตร์(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วิดาด หะยีตาเฮร์. (2556). ผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักจรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสังคมพหุวัฒนธรรม(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิไลวรรณ จิตร์แสวง. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสืบพันธุ์ โดยการใช้เกม ประกอบการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2552(รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา.

ศิริพิมล หงส์เหม. (2556). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.สาขาชีววิทยา (สสวท.). (2558). รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาวิชาการ.

อังคณา ลังกาวงศ์. (2557). ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยเสริมเกมวิทยาศาสตร์(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024