การปลูกฝังคุณธรรมแก่คนในครอบครัวเชิงพุทธ
คำสำคัญ:
ความเข้มแข็งของครอบครัวไทย, ความซื่อสัตย์, ความมีวินัย, การชักจูงจากกัลยาณมิตร, การใช้ปัญญาพิจารณาด้วยตนเองบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ศึกษาสถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคมไทย การใช้คุณธรรมสำคัญ 5 ข้อตามเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของครอบครัวไทย และกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่คนในครอบครัวเชิงพุทธ เป็นการศึกษาตีความข้อมูลที่ได้จากเอกสารและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามประเด็นสำคัญที่กำหนดไว้ แล้วเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่
ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคมไทย คือ การไม่ตระหนักถึงการมีวินัย การคำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว การขาดความซื่อสัตย์สุจริต การขาดความสามัคคี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม การขาดจิตสำนึกสาธารณะ การขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว การขาดทักษะในการคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมที่ดีจากต่างประเทศมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และการยอมรับคนที่ฐานะมากกว่าคนดีมีคุณธรรม
ในการประเมินความเข้มแข็งของครอบครัวไทยของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ด้านที่ 2 คือ ด้านการทำบทบาทหน้าที่ของครอบครัว มีการใช้คุณธรรมสำคัญ จำนวน 5 ข้อ เพื่อการดำเนินชีวิตของคนในครอบครัว คือ 1. ความซื่อสัตย์ 2. ความขยันหมั่นเพียร 3. ความพอเพียง 4. ความมีวินัย และ 5. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นเกณฑ์มาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง
กระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่คนในครอบครัวเชิงพุทธ ประกอบด้วย การชักจูงจากกัลยาณมิตรและการใช้ปัญญาพิจารณาด้วยตนเอง, การให้รางวัล การสนับสนุน การชมเชย และการให้กำลังใจในการทำความดี, การให้สังคมช่วยลงโทษเพื่อเป็นมาตรการควบคุมทางสังคม, การปลูกฝังที่มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อทำให้มีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และการรู้จักจังหวะและโอกาส เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้มีความพร้อมก่อน
References
กนก จันทราและคณะ. (2559). หน้าที่พลเมือง 3-4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
กรมวิชาการ. (2548). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). คู่มือการสำรวจสถานการณ์ความเข้มแข็งของครอบครัว ประจำปี 2565. กรุงเทพมหานคร : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กองวิจัยการศึกษา. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการศักยภาพของเด็กไทยด้านความขยันอดทนและอดออม. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2561). การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม. นนทบุรี : ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). “การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. นครปฐม : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2561). ธมฺมปทฏฺฐกถา (ปญฺจโม ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2561). ธมฺมปทฏฺฐกถา (ฉฏฺโฐ ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2561). ธมฺมปทฏฺฐกถา (สตฺตโม ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
รุ่งฤดี กล้าหาญ, รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงเดือน ศาสตรภัทร และพันเอกหญิง ดร.สายสมร เฉลยกิตติ. (2558). การพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายของไทยในศตวรรษที่ 21. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2559). การสำรวจความคิดเห็นสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.thaipost. (9 พฤศจิกายน 2565)
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2562). 10 ปรากฎการณ์คุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย มกราคม-มิถุนายน 2562 องค์ความรู้ : รายงานสถานการณ์คุณธรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).
ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2559). ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมืองครอบครัวคุณธรรม, กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.
สถาบันครอบครัวไทย. (2565). กระบวนการในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในครอบครัวไทย.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/ (10 พฤศจิกายน 2565)
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). สุขภาพคนไทย ประจำปี 2565 : ครอบครัว ไทยในวิกฤตโควิด-19. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). คู่มือการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสถาบันครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2537). การวัดผลและประเมินผลในชั้น เรียนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย จริยศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กองวิชาการ สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.