แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • อภินพ ฮาดภักดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการป้องกัน, การแก้ไขปัญหาการทุจริต, การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้จะนำเสนอและวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตการ เลือกตั้งระดับท้องถิ่น พบว่า การเลือกท้องถิ่นในปัจจุบันมีการทุจริต คอร์รัปชั่นหลากหลายวิธีการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอย่างมาก โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการได้มาซึ่งคะแนนนิยมก็มักจะซื้อเสียงใน พื้นที่เป้าหมายที่มองว่าเป็นการลงทุน เมื่อได้เป็นผู้บริหารหรือสมาชิกสภาแล้วก็ใช้อำนาจในการถอนเงินทุนคืน อันเป็นกลายเป็นวัฒนธรรมทั้งการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นมิได้แตกต่างกันออกไป  ส่วนรูปแบบและวิธีการทุจริตหรือคอรับชันแตกต่างกัน ทั้งนี้ บทความนี้พยายามนำเสนอมุมมองทาง รัฐศาสตร์เกี่ยวการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถใช้เป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้ ดังนี้ แนวทางการป้องกัน ได้แก่ 1) การปฏิรูป ระบบการหาเสียง 2) การเพิ่มสายข่าวในพื้นที่มากขึ้น 3) การเพิ่มบทบาทความเป็นกลางผู้นำชุมชนและ4) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้มากขึ้นส่วนแนวทางการแก้ไข ได้แก่ 1) กำหนดการ เพิ่มโทษบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น 2) กำหนดการสรรหาองค์กรหรือบุคคลที่ไม่มีผลได้ผลเสียในการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการแทนเจ้าหน้าที่รัฐ และ 3) กำหนดกลไกการเพิ่มโทษที่มีผลต่อ บุคคลที่เชื่อมโยงถึงสังคมนั้นๆ ดังนั้น การได้มาซึ่งตัวแทนถือว่าเป็นศักดิ์ศรีของประชาชนในพื้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ที่สามารถจะพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ความเจริญในอนาคต แต่หากได้ตัวแทนที่ไม่ดี จะกลายเป็นการซ้ำเติมความเลวร้ายให้กับประชาชนด้วยเช่นกัน

References

ชงคชาญ สุวรรณมณี. (ม.ม.ป.). กลไกตามรัฐธรรมนูญเพอปราบการทุจริต. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2560). บทบาทและปัญหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 5 (1), 68-89.

เดชา คำเกิด. (2555). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการเลือกตั้งระดับชาติ และท้องถิ่น อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด [วันที่ 23 ธันวาคม 2566].

นัทธมน กันเกา และศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. (2566). แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7 (1), 95-111.

ปุรวิชญ์ วัฒนสุข. การกระทำใดบ้างที่เข้าข่ายทุจริตการเลือกตั้ง?. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : https://www.kpi-corner.com/content/5820/content230162-1 [วันที่ 23 ธันวาคม 2566].

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก. 16 เมษายน 2562.

เมธา ศิลาพันธ์. (2563). 108 ความรูเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ทุจริตเลือกตั้ง เราทำอะไรได้บ้าง?. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : https://thaivote.info/c13 [วันที่ 23 ธันวาคม 2566].

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2550). ประชาธิปไตยท้องถิ่น: แง่คิดเกี่ยวกับนโยบาย สาธารณะในระดับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-02-2024