ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการจัดกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการ “ครุนิพนธ์สัมมนา” สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่งเสริม, ประชุมวิชาการ, ครุนิพนธ์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการจัดกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการ “ครุนิพนธ์ สัมมนา” สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัย ส่งเสริมความสำเร็จในการจัดทำโครงการ “ครุนิพนธ์สัมมนา” ครั้งที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของการจัดโครงการ “ครุนิพนธ์สัมมนา” ครั้งที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ประชากรของโครงการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 279 คน ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2565 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมิน และพิจารณาบทความ (Peer Review) และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงาน กลุ่มเป้าหมายของโครงการวิจัย รวมทั้งสิ้น 178 คน จำแนกเป็นนักศึกษาที่เข้าร่วมนำเสนอผลงาน ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมิน และพิจารณาบทความ (Peer Review) และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงาน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการจัดกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการ “ครุนิพนธ์สัมมนา” สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีจำนวน 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านบริบทของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินการโครงการ และด้านความรู้ความเข้าใจเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ประโยชน์ ตามลำดับ
- ปัญหาอุปสรรคของการจัดโครงการ “ครุนิพนธ์สัมมนา” ครั้งที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า การสนับสนุนด้านงบประมาณไม่เพียงพอ มีการปรับลดงบประมาณในการดำเนินโครงการส่งผลต่อการทำกิจกรรมตามแผนงานของโครงการ นอกจากนี้ปริมาณของงานด้านเอกสารและรายงานมีมากจนเป็นภาระเกินไป เครื่องมืออำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ รูปแบบการจัดโครงการไม่มีความหลากหลายทำให้ขาดความน่าสนใจ และการเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยมีความล่าช้า
- ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการจัดโครงการครั้งต่อไป พบว่า ในการจัดโครงการควรเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดโครงการให้มีความน่าสนใจเพื่อจูงใจนักศึกษาให้เข้าร่วมโครงการ ในการจัดโครงการแต่ละครั้งควรมีการสำรวจบุคลากรที่สะดวกในการเข้าร่วมโครงการ และกำหนดมอบหมายภาระงานให้ชัดเจน ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงการให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการโครงการ และควรสนับสนุนบุคลากรและเครื่องมืออำนวยความสะดวก
References
เกษม วัฒนชัย. (2551). แนวทางการบริหารสถานศึกษาพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดี.
นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์, รังสรรค์ สิงหเลิศ และสมสงวน ปัสสาโก. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. 4(2), 103-111.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2550). จิตวิทยาการประชุมอบรมสัมมนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผล ยาวิชัย. (2553). สัมมนา (Seminar). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
ไพโรจน์ เนียมนาค. (2554). เทคนิคการสัมมนาและการฝึกอบรม. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2563 : 10-14). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4). พ.ศ. 2562 เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 พฤษภาคม 2563.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุคพับลิเคชั่นส์.
วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม. (2562). ปัจจัยความสำเร็จและการศึกษาปัญหาในการบริหารจัดการโครงการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 6 (สิงหาคม), 1-8.
ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. (2565). คู่มือฝึกประสบการณ์คณะครุศาสตร์. ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สมิตร สัชฌุกร. (2552). การประชุมที่เกิดประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์. (2562). มคอ.2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (4 ปี) พ.ศ. 2562. สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สุรศักด์ิ วงศ์สันติ. (2553). การจัดประชุมให้มีประสิทธิภาพ:ยากหรือง่าย?. คืบค้นวันที่ 26 มีนาคม 2565 จาก http://www.npu.ac.th/General/pdf/r3.pdf
สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.