การพัฒนาทักษะการย่อความจากนิทานพื้นบ้านโดยใช้รูปแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเสี้ยวน้อย

ผู้แต่ง

  • ศศินา โคตรศรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปิยนุช พุทธชาติ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ฐิติรดา เปรมปรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การย่อความ, นิทานพื้นบ้าน, รูปแบบร่วมมือเทคนิค CIRC

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการย่อความจากนิทานพื้นบ้านโดยใช้รูปแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเสี้ยวน้อย 2) เพื่อเปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ในการย่อความจากนิทานพื้นบ้านก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเสี้ยวน้อย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเสี้ยวน้อย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\chi) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่า T-test dependent Samples ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินการใช้แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\chi= 4.88) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

กนกวรรณ ภู่ทิม, ชูชาติ พิณพาทย์, และปริญญา ทองสอน. (2562, มกราคม-มีนาคม). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 1-15.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฐิติรดา เปรมปรี. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ, 2(1), 69-78.

สัมฤทธิ์ เสนกาศ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-02-2024