ความเชื่อเรื่องพระเครื่องในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระวิทูล โพธิเศษ วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ส่งสุข ภาแก้ว วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

พระเครื่องหรือพระเครื่องรางเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก สร้างไว้เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อาจจะรวมถึงรูปสมมติขนาดเล็กของพระสงฆ์อริยบุคคล พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าด้วย ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นตามความนิยมของบุคคลที่มีความเชื่อในเมตตามหานิยม อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ พระเครื่องมีพัฒนาการมาจากพระพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังพุทธกาล โดยเกิดจากแนวคิดการสร้างเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า สังเวชนียสถาน เพื่อการสืบทอดอายุพุทธศาสนา เผยแผ่หลักคำสอน และเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แนวคิดในการสร้างพระพิมพ์มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมแต่ละยุคสมัย จนกระทั่งยุคปัจจุบันที่นิยมเรียกว่า “พระเครื่อง” ซึ่งเป็นผลมาจากความนิยมสะสมจนเกิดการแลกเปลี่ยนและเช่าบูชา ทำให้พระเครื่องกลายเป็นวัตถุที่มีมูลค่าทางการตลาดที่มีการชื้อขายแลกเปลี่ยนในเชิงธุรกิจจนเป็นที่มาของคำว่า “พุทธพาณิชย์” ส่วนแนวทางการสร้างพระเครื่องที่มีคุณค่าในสังคมไทยนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างพระเครื่องจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบแนวทาง เพื่อพัฒนาการสร้างพระเครื่องที่มีคุณค่าในสังคมไทย

References

เกริกเกียรติ ไพบูลย์ศิลป์. (2547). กำเนิดและวิวัฒนาการของพระเครื่องในสังคมไทยตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาถึงปัจจุบัน. ภาคนิพนธ์รัฐศาลตรมหาบัณฑิต. สาขาการปกครอง. คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชายนำ ภาววิมล. (2537). พุทธพาณิชย์: ผลกระทบจากการใช้สื่อสารมวลชนในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อจำหน่าย พระเครื่องที่มีต่อทัศนคติและความเชื่อของพุทธศาสนิกชนในเรื่องสัญลักษณ์ของศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์. (2555). ประวัติศาสตร์ผ่านพระเครื่อง : คติความเชื่อและพุทธพาณิชย์. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ตรียัมปวาย. (2520). ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่ม 1: พระสมเด็จ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

ธนกฤต ลอยสุวรรณ. (2546). การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์. ภาควิชาโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2554). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธคุณในสื่อสิ่งพิมพ์พระเครื่อง. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิธินันท์ วิภูศิริ. (2554). พฤติกรรมการเช่าบูชาพระเครื่องในศูนย์พระเครื่องห้างสรรพสินค้าพันธุทิพย์พลาซ่า สาขางามวงศ์วาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุศรา สว่างศรี. (2549). พุทธพาณิชย์: พระเครื่อง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาเชิด เจริญรัมย์. (2541). พระเครื่องกับสังคมไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีทัศนะของนักวิชาการพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยอร์ช เซเดส์. (2526). ตำนานพระพิมพ์. แปลโดย หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. ตำนานอักษรไทย ตำนานพระพิมพ์ การขุดค้นที่พงตึก ศิลปะไทยสมัยสุโขทัย ราชธานีรุ่นแรกของไทย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ยอร์ช เซเดส์. (2507). ตำนานพระพิมพ์. กรุงเทพฯ : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2537). พระเครื่องในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

สงคราม สุเทพากุล. (2556). พุทธพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำนาจ ยอดทอง. (2557). พุทธศิลป์กับการนำไปประดับตกแต่งโรงแรม: ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม?. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม, 2557).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-02-2024