ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • เบญจรัตน์ ภารจรัส นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การให้บริการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ประชาชนเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อน จำนวน 4,126 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 364 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีของเชฟเฟ่

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการควบคุมและป้องกันโรคอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ตามลำดับ
  2. ประชาชนเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อนที่มี เพศ การศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2567). แผนขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และนงนุช วงศ์สว่าง. (2560). การสาธารณสุขในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการสาธารณสุข 26(2) 377-388.

โกเมฆ มีรัตน์คำ. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของฝ่ายทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน สำนักทะเบียนอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

เจษฎา นกน้อย. (2560). คุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดสงขลา.

พาฝัน ใจแสน. (2559). คุณภาพการให้บริการระบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวของสำนักงานพาณิชย์ จังหวัดอุทัยธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิกิพีเดีย. (2562). โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.

ศศิสุภา ประสารเนตร. (2561). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการบริการของสนามแข่งรถ เขาใหญ่สปีดคาร์ท. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สนธิ์ บางยี่ขัน และคณะ. (2562). บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

สมหมาย จันทร์เรือง. (2558). รพ.สต. ทางเลือกหรือทางหลักของระบบสุขภาพไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2015/07/10346

อัครณี ภักดีวงษ์. (2561). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (องค์การมหาชน). การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd). New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

ภารจรัส เ. ., & รุ่งเรืองกลกิจ ว. . (2025). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง. วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์, 3(1), 26–38. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR/article/view/1251