การปรับปรุงคุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนทอดกรอบ

Main Article Content

พัชรพร ไตรวงศ์
สุวรรณา สายรวมญาติ
เออวดี เปรมัษเฐียร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนทอดกรอบ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม จากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามร่วมการทดสอบรสชาติโดยผู้บริโภคที่เคยซื้อหรือเคยบริโภคผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 200 ราย ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2566 ผลการวิเคราะห์พบว่า คุณลักษณะที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด คือ คุณลักษณะด้านรสชาติ รองลงมาคือ รูปแบบชิ้นทุเรียน ระดับราคา และวิธีการปรุงรส ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบลำดับความพึงพอใจที่มีต่อระดับคุณลักษณะก่อนและหลังทดสอบรสชาติ พบว่า ก่อนทดสอบรสชาติผู้บริโภคมีความพึงพอใจรสเกลือหิมาลายันมากกว่ารสข้าวโพด แต่หลังจากที่ได้ทดสอบรสชาติกลับมีความพึงพอใจรสข้าวโพดมากกว่ารสเกลือหิมาลายัน โดยที่ระดับคุณลักษณะอื่นไม่มีลำดับความพึงพอใจแตกต่างกันทั้งก่อนและหลังการทดสอบรสชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนารสชาติผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบเป็นอันดับแรก และควรมีการทดสอบทางประสาทสัมผัสกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รสชาติที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรธิตา พลอยสิทธิ์. (2562). คุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนทอดกรอบของผู้บริโภค. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

เจน บำรุงชีพ และอภิชาต ดะลุณเพธย์. (2556). คุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคทุเรียนทอดกรอบ. วารสารสมาคมส่งเสริมการวิจัย, 6(2), 65-71.

พัชรพร ไตรวงศ์, สุวรรณา สายรวมญาติ และเออวดี เปรมัษเฐียร. (2566) การปรับปรุงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ขนมขบเคี้ยวจากทุเรียน. นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้เพื่อโลกอนาคตด้านเทคโนโลยี. รายงานสื่อเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 (9th TECHCON 2023) (น. 167-178). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

พัชรพร ไตรวงศ์. (2566). การปรับปรุงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากทุเรียน (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). “ทุเรียน” ผลไม้ไทยดังไกลทั่วโลก ใครได้ลองทานแล้วต้องติดใจ. ค้นจาก https://www.arda.or.th/detail/6140.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สถานการณ์เศรษฐกิจเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2567. ค้นจาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2566/trend2567.pdf.

อชิรญา ปรีชาเวช. (2547). เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบและทุเรียนกวนของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ).

Hague, P. (2023). The business models handbook: the tools, techniques and frameworks every business professional needs to succeed. (2nd ed.). New York: Kogan Page.

Joompha, W. & Pianthong, N. (2018). Development of Durian Chips Product by Apply of Quality Function Deployment. Journal of Science & Technology, Ubon Ratchathani University, 20(3), 204-218.

Pindyck, R. S. & Rubinfeld, D. (1998). Microeconomics. (4th ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall Inc.

Statista. (2023). Snack Food - Thailand. Retrieved from https://www.statista.com/outlook/cmo/food/confectionery-snacks/snack-food/thailand.

Wardani, A. K., & Vorasayan, J. (2017). Assessing Consumer Behavior and Willingness to Pay for Imported Wafer Snack Products from Indonesia. Review of Integrative Business and Economics Research, 6(3), 393-403.