การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของการวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ

Main Article Content

อรรถพล สืบพงศกร
พิมพ์พร โสววัฒนกุล
จิตรา โรจน์ประเสริฐกูล

บทคัดย่อ

การประเมินผลลัพธ์ผลกระทบของแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ สกสว. : การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อประเมิน กระบวนการบริหารจัดการ ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ และนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม หลักการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบอาศัยการประเมินทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก โดยกำหนดให้การลงทุนในงานวิจัยก่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบตามกรอบแนวทางของระบบการประเมินผลการวิจัยของ OECD มีโครงการวิจัยภายใต้การประเมินรวม 50 โครงการ ตามแผนงานมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ ปีงบประมาณ 2563  โดยทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) การศึกษานี้ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารรายงานโครงการและข้อมูลโครงการภายใต้การประเมินที่มีการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิ โดยสำรวจสภาพพื้นที่และการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการกรณีศึกษา 8 โครงการ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบอุปนัยเพื่อตีความหาข้อสรุปของข้อมูล ภาพรวมของการดำเนินโครงการวิจัย พบว่า ตามโครงสร้างการจัดสรรทุนวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสม มีการกระจายทีมวิจัยอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ การประเมินผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบตามกรอบ OECD พบว่า ทุกโครงการวิจัยบรรลุเป้าหมายด้านความสอดคล้องของแผนงานวิจัย (Relevance) ด้านความเชื่อมโยงของแผนงานวิจัย (Coherence) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness)  และด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่สอดคล้องกับแผนงานวิจัย ววน. ตอบโจทย์การพัฒนาตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทุกโครงการสามารถดำเนินโครงการได้ตามภาพรวมเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลัก มีการจัดสรรทรัพยากรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนพื้นที่ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด มีผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการวิจัย (Benefit cost ratio) ที่คุ้มค่า อย่างไรก็ตาม ผลได้ที่เกิดขึ้นนี้แสดงถึงความยั่งยืนของผลลัพธ์และผลกระทบภายหลังจากโครงการวิจัยสิ้นสุดแล้วได้ไม่ดีนัก โดยโครงการเกือบทั้งหมดยังมีลักษณะของโครงการที่ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง จึงจะทำให้เกิดผลการดำเนินโครงการที่ต่อเนื่องได้ดัวยตนเองอย่างยั่งยืน  ข้อเสนอแนะสำคัญของของการจัดสรรทุนวิจัยได้แก่ ด้านระยะเวลาที่โครงการวิจัยจำเป็นต้องมีระยะเวลาวิจัยไม่น้อยกว่า 3-4 ปีขึ้นไปร่วมกับการพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างกรอบวิจัยต่างๆ ให้เกิดประโยชน์เป็นองค์รวมที่สามารถบูรณาการผลร่วมกันในพื้นที่ และมีการตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดระยะเวลาให้สอดคล้องกับแผนที่นักวิจัยวางไว้ แล้วมีการทบทวนปรับแผนและกระบวนการเพื่อความเหมาะสม กับสภาพข้อเท็จจริงเมื่อเกิดการปฏิบัติงานจริง

Article Details

How to Cite
สืบพงศกร อ., โสววัฒนกุล พ., & โรจน์ประเสริฐกูล จ. (2024). การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของการวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ. Applied Economics, Management and Social Sciences, 1(1), 52–69. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/808
บท
บทความวิจัย

References

กัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2564). การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยและพัฒนา: หลักการเบื้องต้นและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการออกแบบที่อยู่อาศัย: ประสบการณ์จากชุมชนผู้มีรายได้น้อยริมคลองใน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 7(1), 64-79.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555)a. โการประเมินผลการวิจัยของประเทศ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555)b. การประเมินผลการวิจัยและพัฒนาของประเทศประจำปี 2554 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2543). การประเมินโครงการตามแนวทางเศรษฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระพีพัฒน์ ศรีมาลา, พรสุข หุ่นนิรันดร์ และทรงพล ต่อนี. (2559). การจัดการสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม:กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 159-168.

สมพร อิศวิลานนท์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล. (2547). การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2565). กรอบและขอบเขตการประเมินแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2564). ประชุมวิชาการระดับชาติ หนุนแวดวงวิจัย ประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมของผลงานวิจัยโดยใช้เทคนิค SROI. ค้นจาก https://tsri.or.th/ th/news/ content/640/Financial-Proxy-and-Best-Practice-of-SROI

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การประเมินความคุ้มค่าของการวิจัยในภาพรวมของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุวรรณา ประณีตวตกุล. (2552). การจัดการและประเมินผลการวิจัย. เอกสารคำสอนรายวิชา EC01119592 ภาควิชา เศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อมรพันธุ์ เปล่งงูเหลือม. (2556). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลตาบลบ้านเดื่อ อาเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 1, 74-85.

ACIAR. (2008). Guidelines for assessing the impacts of ACIAR’s research activities. ACIAR Impact Assessment Series, 58.

Alston, J. M., Norton, G. W., & Pardey, P. G. (1995). Science under scarcity: Principles and practice for agricultural research evaluation and priority setting. International Service for National Agricultural Research.

Arnold, E. & Balazs, K. (1998). Methods in the evaluation of publicly funded basic research. UK: Technopolis.

Correct citation: Walker T., Maredia M., Kelley T., La Rovere R., Templeton D., Thiele G., and Douthwaite B. 2008. Strategic Guidance for Ex Post Impact Assessment of Agricultural Research. Report prepared for the Standing Panel on Impact Assessment, CGIAR Science Council. Science Council Secretariat: Rome, Italy.

Haacker, M., Hallett, T. B., & Atun, R. (2020). On discount rates for economic evaluations in global health. Health Policy and Planning, 35(1), 107-114.

Khandker, S. R., Koolwal, G. B., & Samad, H. A. (2009). Handbook on impact evaluation: quantitative methods and practices. World Bank Publications.

Kilpatrick Jr, H. E. (1998). Some useful methods for measuring the benefits of social science research. (Research report No. 21). Washington, DC: International Food Policy Research Institute.

OECD, (2019). Better Criteria for Better Evaluation Revised Evaluation Criteria Definitions and Principles for Use. OECD/ DAC Network on Development Evaluation. Organization for Economic Co-operation and Development, 13.

Templeton, D., & Villano, L. (2006, July). Concepts and tools for agricultural research evaluation and impact assessment. International Rice Research Institute (IRRI) Workshop Report, 24.