การรับรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อเชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศไทย

Main Article Content

เออวดี เปรมัษเฐียร

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อเชื้อเพลิงชีวภาพ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างในการรับรู้และทัศนคติ ทำการเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์จากผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 614 ตัวอย่าง วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการแบ่งกลุ่มผู้บริโภค ผลการศึกษาด้านการรับรู้และทัศนคติที่ประชาชนมีต่อเชื้อเพลิงชีวภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 51,946 บาทต่อเดือน มีค่าเฉลี่ยสูงเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ขับขี่รถยนต์มีอายุในระดับกลางคน และพบว่าการรับรู้ของประชาชนต่อเชื้อเพลิงชีวภาพยังจำกัด ส่วนมากขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับราคาของเชื้อเพลิงชีวภาพและสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพในแก๊สโซฮอล์ แต่มีความตระหนักในระดับที่ดีถึงความสำคัญของเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มีความยินดีเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพหากภาครัฐมีการอุดหนุนให้ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพต่ำกว่า และผลการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคพบว่าคุณลักษณะของประชากรทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกว่าไม่ได้ส่งผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ดีกว่า สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ทีมีสถานภาพทางเศรษฐกิจดีควรเป็นกลุ่มที่ควรได้รับข้อมูลข่าวสารและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพให้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP2018). ค้นจาก https://www.policy.asiapacificenergy.org/sites/default/files/Alternative%20Energy%20Development%20Plan%202018-2037%20%28AEDP%202018%29%28TH%29.pdf.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2566). นโยบายและแผนพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย. หลักสูตรวิทยากรพลังงานสำหรับนักบริหารรุ่นใหม่ รุ่น 9 (วพม. 9). ค้นจาก https://www.thailand-energy-academy.org/assets/upload/coursedocument/file/Renewable%20Energy%20Policy.pdf.

ธัญพร ประสารเกตุ และศยามล เอกะกุลานันต์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ของผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลที่มาใช้บริการที่สถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 38(2), 223-235.

พิรดา กสินาชีวะ. (2559). การรับรู้ ทัศนคติ และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ไบโอดีเซลเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงดีเซลสำหรับรถยนต์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4, 1-14.

สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. (2566). รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย. กระทรวงพลังงาน. ค้นจาก https://www.drive.google.com/file/d/1ogLNT7vAybN3HYkrT3jhfzvMXy6eC-zh/view.

เออวดี เปรมัษเฐียร, จิตรลดา เชาวณาพรรณ์, และสันติ แสงเลิศไสว. (2561). ความเต็มใจจ่ายของผู้ขับขี่เพื่อลดการปล่อยก๊าช CO2 ของน้ำมันแก๊สโซฮอล์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 14(1), 24-39.

Anderson, D. R., Sweeney, D. J., Williams, T. A., Camm, J. D., Cochran, J. J., Fry, M. J., & Ohlmann, J. W. (2019). Statistics for Business and Economics. (Metric Edition). Boston: Cengage Learning.

Balogh, P., Bai, A., Popp, J., Huzsvai, L., & Jobbágy, P. (2015). Internet-orientated Hungarian car drivers’ knowledge and attitudes towards biofuels. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 48, 17-26.

Baral, N. (2018). What socio-demographic characteristics predict knowledge of biofuels. Energy Policy, 122, 369-376.

Chaiyapa, W., Nguyen, K. N., Ahmed, A., Vu, Q. T. H., Bueno, M., Wang, Z., Esteban, M. (2018). Public perception of biofuel usage in Vietnam. Biofuels, 12(1), 21-33.

Delshad, A. B., Raymond, L., Sawicki, V., & Wegener, D. T. (2010). Public attitudes toward political and technological options for biofuels. Energy Policy, 38(7), 3414-3425.

Dragojlovic, N., & Einsiedel, E. (2014). The polarization of public opinion on biofuels in North America: key drivers and future trends. Biofuels, 5(3), 233-247.

Dragojlovic, N., & Einsiedel, E. (2015). What drives public acceptance of second-generation biofuels? Evidence from Canada. Biomass and Bioenergy, 75, 201-212.

Garcia, T. C., Durand-Morat, A., Yang, W., Popp, M., & Schreckhise, W. (2022). Consumers’ willingness to pay for second-generation ethanol in Brazil. Energy Policy, 161, 112729.

Karytsas, S., & Theodoropoulou, H. (2014). Socioeconomic and demographic factors that influence publics' awareness on the different forms of renewable energy sources. Renewable Energy, 71, 480-485.

Li, T., & McCluskey, J. J. (2017). Consumer preferences for second-generation bioethanol. Energy Economics, 61, 1-7.

Løkke, S., Aramendia, E., & Malskær, J. (2021). A review of public opinion on liquid biofuels in the EU: Current knowledge and future challenges. Biomass and Bioenergy, 150, 106094.

Mamadzhanov, A., McCluskey, J. J., & Li, T. (2019). Willingness to pay for a second-generation bioethanol: A case study of Korea. Energy Policy, 127, 464-474.

Moula, M. M. E., Nyári, J., & Bartel, A. (2017). Public acceptance of biofuels in the transport sector in Finland. International Journal of Sustainable Built Environment, 6(2), 434-441.

Mouzaidis, P., Tsatiris, M., Damalas, C., Tsantopoulos, G., Katsileros, A., & Milis, C. (2022). Investigation of the attitudes of Greek consumers towards the biofuel’s consumption using social acceptance theory. Biofuels, 14(1), 109-118.

Paravantis, J. A. (2022). 38 - Socioeconomic aspects of third-generation biofuels. In E. Jacob-Lopes, L. Q. Zepka, I. A. Severo, & M. M. Maroneze (Eds.). Generation Biofuels (3rd). (pp. 869-917). Cambridge: Woodhead Publishing.

Radics, R. I., Dasmohapatra, S., & Kelley, S. S. (2016). Public perception of bioenergy in North Carolina and Tennessee. Energy, Sustainability and Society, 6, 1-11.

Tan, P. N., Steinbach, M., Kumar, V., & Karpatne, A. (2019). Introduction to Data Mining eBook. (Global Edition). New Jersey: Pearson Education.

Van de Velde, L., Verbeke, W., Popp, M., Buysse, J., & Van Huylenbroeck, G. (2009). Perceived importance of fuel characteristics and its match with consumer beliefs about biofuels in Belgium. Energy Policy, 37(8), 3183-3193.

Wegener, D. T., Kelly, J. R., Wallace, L. E., & Sawicki, V. (2014). Public opinions of biofuels: attitude strength and willingness to use biofuels. Biofuels, 5(3), 249-259.