ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ช่วงการระบาดโควิด-19: กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์
พีระพงศ์ เบญจพรกุลนิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจะแยก ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์รวมถึงส่วนผสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 งานวิจัยนี้จะเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามผู้อาศัยอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่อยู่ในสถานภาพแรงงานและมีความตั้งใจที่จะซื้อเฟอร์นิเจอร์จำนวน 400 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงและแบบสะดวก วิธีการศึกษาจะใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุในการอธิบาย ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ผู้ประกอบการขายเฟอร์นิเจอร์ควรมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์การขายเฟอร์นิเจอร์หมวดโฮมออฟฟิศและหมวดห้องนั่งเล่นในกลุ่มลูกค้าที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ที่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนและข้าราชการด้วยการใช้กลยุทธ์ด้านราคาแบบผ่อนชำระ สำหรับเฟอร์นิเจอร์ในหมวดห้องนอน ห้องครัวและห้องอาหาร ควรเน้นไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีอายุ 41-50 ปีที่ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือนมากและประกอบธุรกิจส่วนตัว นอกจากนี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยการตลาดด้านราคาส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์หมวดห้องนั่งเล่นและโฮมออฟฟิศ ส่วนปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์หมวดห้องนอน ห้องครัวและห้องอาหาร ปัจจัยด้านบุคคลากรส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์หมวดห้องนั่งเล่นและหมวดห้องครัวและห้องอาหาร และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ในหมวดห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัวและห้องอาหาร

Article Details

How to Cite
รังคกูลนุวัฒน์ ภ., & เบญจพรกุลนิจ พ. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ช่วงการระบาดโควิด-19: กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. Applied Economics, Management and Social Sciences, 1(1), 1–30. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/806
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ‘New Normal’ คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต 'ปกติวิถีใหม่' !. ค้นจาก http://https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882508.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ผ่าความสำเร็จ 'เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน' ออนไลน์ ธุรกิจที่ไม่ติด 'โควิด-19'. ค้นจาก http://https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882546.

ชญาดา สมศักดิ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ายี่ห้ออีเกีย ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ชลธิชา สัจจธนสุวรรณ. (2562). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อพฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการ (เฟอร์นิเจอร์และชุดเครื่องนอน) ผ่านเพจร้านค้าบนแอปพลิเคชั่น Facebook ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงระบาดของสถานการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศไทย. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2547). การตลาดบริหาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ฑิตาพร รุ่งสถาพร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤติโควิด-19ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพิษณุโลก. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

นมัสการ มรรคสุนทร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องเรือนอเนกประสงค์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

นารีรัตน์ ฟักเฟื่องบุญ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องเรือนอเนกประสงค์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ปยุต วงศ์พิมายคราม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ระดับตลาดล่าง (No Brand) ในจังหวัดนครสวรรค์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. (2559). เศรษฐมิติเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธิกาญจน์ วิชญะวงศ์ศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์บิลท์-อิน. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

รุจิรา อัควรุ่งสกุล. (2556). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเฟอร์นิเจอร์เพื่อการอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2563). ปลดล็อกดาวน์เฟอร์นิเจอร์พุ่งระยะสั้น อินเด็กซ์-เอสบีฯ เร่งเพิ่มช่องทางออนไลน์. ค้นจาก http://https://www.reic.or.th/News/RealEstate/442027.

โศภณ นนทประดิษฐ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 16(1), 190-200.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564). ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) (ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564). ค้นจาก http://https://www.suratthani.go.th/covid19/index.php/2020-04-05-07-00-15

Kotler, P., & Armstrong, G. (2009). Marketing, an introduction. (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principles of marketing. (Global Edition). New Jersey: Pearson Education.

Kotler, P., & Keller, L. (2012). Marketing Management. (14th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Qureshi, M. F., Karmran, A., Khan, M. A. H., & Desai, M. A. (2020). Factors Affecting Furniture Purchase in Pakistan. In The Proceedings of the Fourteenth International Conference on Management Science and Engineering Management. (pp. 32-47). Moldova: Academy of Economic Studies of Moldova.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper & Row.