การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบโครงการวิจัยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Main Article Content

กุลภา กุลดิลก
เออวดี เปรมัษเฐียร
วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์และผลกระทบจากงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล ในส่วนของโครงการวิจัยจำนวน 39 โครงการ ปีงบประมาณ 2563 ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) รวมทั้งเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการรวบรวมแบบสอบถามออนไลน์ สำหรับโครงการวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 5 โครงการ ทำการนัดสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อประกอบการศึกษาผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่ได้รับการคัดเลือก การศึกษาโครงการคัดเลือกใช้การวิเคราะห์เส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย การวัดการเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทางเศรษฐกิจ และการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนวิจัย ผลการศึกษาสถานภาพ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า โครงการทั้งหมดมีงบประมาณรวมทั้งหมด 199.66 ล้านบาท มีนักวิจัยเฉลี่ยต่อโครงการ 2-3 คน ด้านการบริหารจัดการงานวิจัย สาขาของการวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในด้านด้านสังคมศาสตร์ ด้านผลผลิต ผลผลิตของโครงการวิจัยเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ชุดโปรแกรมด้านบริการเชิงสุขภาพ แบบการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ รูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะนำการท่องเที่ยวในสื่อออนไลน์ ด้านของผลประโยชน์เชิงวิชาการ ได้แก่ ด้านของการฝึกอบรม บทความวิจัย คู่มือและสิ่งพิมพ์ หนังสือ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดการเพิ่มในด้านรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น มาตรฐานของสถานที่บริการการท่องเที่ยวต่างๆ ที่ดีขึ้น การประหยัดต้นทุนจากการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ผลการศึกษาสรุปได้ว่าโครงการวิจัยกรณีศึกษา 5 โครงการ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยโครงการวิจัยทั้ง 5 กรณีศึกษาใช้เงินลงทุนในการวิจัยรวม 104.94 ล้านบาท มีค่าผลตอบแทนทางสังคมรวม (SROI) เท่ากับ 5.51 และ IRR เท่ากับ 54.56% ในช่วงเวลา 5 ปี ทุกโครงการมีความคุ้มค่ากับการลงทุนในการทำงานวิจัย ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ควรผลักดันโครงการที่มีการวางแผนในด้านการพัฒนาคน เช่น การอบรมในทักษะต่างๆ การจัดทำมาตรฐาน การพัฒนาพื้นที่ชุมชนและสำรวจแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติใหม่ โดยเน้นในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
กุลดิลก ก., เปรมัษเฐียร เ., & ลิ้มสมบุญชัย ว. (2024). การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบโครงการวิจัยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. Applied Economics, Management and Social Sciences, 1(1), 84–103. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/640
บท
บทความวิจัย

References

เกศกุล สระกวี. (2564). ผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) ของโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว. วารสารพัฒนศาสตร์, 4(2), 129-183.

กัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2564). การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยและพัฒนา: หลักการเบื้องต้นและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

เฉวียง วงค์จินดา. (2564). การประเมินเส้นทางผลลัพธ์และผลกระทบ ภายใต้ชุดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. Burapha Journal of Business Management, Burapha University, 10(2), 19-39.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555a). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการประเมินผลการวิจัยของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555b). ตัวอย่าง รายงานการประเมินผลการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สมพร อิศวิลานนท์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล. (2547). การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัย เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2563). แนวทาง/แนวโน้ม งานวิจัยท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปี 2564. เปิดเส้นทางทุนวิจัย ผ่านสัมนาออนไลน์ Zoom Webinar กับหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). ค้นจาก https://dept.npru.ac.th/rdi/data/files/Section-03.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2565). กรอบและขอบเขตการประเมินแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป (เอกสาร ประกอบการเขียนข้อเสนอโครงการประเมินแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

Alston, J. M., Norton, G. W., & Pardey, P. G. (1998). Science Under Scarcity Principle and Practice for Agricultural Research Evaluation and Priority Setting. Oxfordshire: CAB International Publishing.

Davis, H. C., & Webster, D. R. (1981). A compositional approach to regional socio-economic impact assessment. Socio-Economic Planning Sciences, 15(4), 159-163.

Evenson, R. E. (2001). Economic impacts of agricultural research and extension. Handbook of agricultural economics, 1, 573-628.

Haacker, M., Hallett, T. B., & Atun, R. (2020). On discount rates for economic evaluations in global health. Health Policy and Planning, 35(1), 107-114.

OECD. (2019). Better Criteria for Better Evaluation Revised Evaluation Criteria Definitions and Principles for Use. OECD/ DAC Network on Development Evaluation. Paris: Organisation for Economic Co-operation and Development.

Reed, M. S., Ferré, M., Martin-Ortega, J., Blanche, R., Lawford-Rolfe, R., Dallimer, M., & Holden, J. (2021). Evaluating impact from research: A methodological framework. Research Policy, 50(4), 104147.