ความเชื่อและพิธีกรรมการแก้บน กรณีศึกษา พ่อหลวงกลั่น วัดทุ่งไหม้ ตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ธิดารัตน์ แซ่อุ้ย
ภัทรพร ฤทธิชัย
เดโช แขน้ำแก้ว
พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์
สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเชื่อและพิธีกรรมการแก้บน และ 2) ผลกระทบจากความเชื่อและพิธีกรรมการแก้บน กรณีศึกษา พ่อหลวงกลั่น วัดทุ่งไหม้ ตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ชาวบ้านที่มาแก้บน จำนวน 20 คน ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ชุมชน จำนวน 1 คน กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน และพระในวัดทุ่งไหม้ จำนวน 5 รูป รวมทั้งสิ้น 27 คน/รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรนณา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเชื่อและพิธีกรรมการแก้บน ได้แก่ (1) การรับราชการ: ผู้คนมักต้องการขวัญกำลังใจในการสอบ โดยหวังว่าจะประสบความสำเร็จและจะนำสิ่งของมาตอบแทนตามที่สัญญาไว้ (2) ขอบุตร: ผู้ที่มีปัญหาการมีบุตรยากมักขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อหาที่พึ่งทางจิตใจ (3) หายจากการไม่สบาย: ผู้ป่วยมักมีความต้องการทางจิตใจ โดยสัญญาว่าจะเลิกพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เลิกสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา เพื่อให้ตนเองหายดี (4) โชคลาภ: การขอเกี่ยวกับเงินทองและโชคลาภมักระบุวัน เดือน ปี ให้ชัดเจน พร้อมสัญญาว่าจะตอบแทนหากได้ตามที่ขอ 2) ผลกระทบจากความเชื่อและพิธีกรรม ได้แก่ (1) ด้านจิตใจ: ความเชื่อที่มั่นคงจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนตาม (2) ด้านความรักสามัคคี: ความรู้สึกและความคิดที่มีร่วมกันในสังคมเดียวกันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและสร้างความร่วมมือในการเคารพนับถือ (3) ด้านรายได้เข้ามาในชุมชน: เศรษฐกิจชุมชนมีการกระจายรายได้ผ่านความเชื่อ โดยเฉพาะรอบวัดและร้านค้าที่เกี่ยวข้อง (4) ด้านสิ่งแวดล้อม: วัดจัดเตรียมสถานที่พักผ่อนและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำและน้ำดื่ม พร้อมทั้งสถานที่เผยแผ่หลักธรรมและการแก้บน

Article Details

How to Cite
แซ่อุ้ย ธ., ฤทธิชัย ภ., แขน้ำแก้ว เ., อ่อนจันทร์ พ., & เงินถาวร ส. ช. (2024). ความเชื่อและพิธีกรรมการแก้บน กรณีศึกษา พ่อหลวงกลั่น วัดทุ่งไหม้ ตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. Applied Economics, Management and Social Sciences, 1(2), 13–20. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/2038
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญทิวา ผิวผาด, กุลธีรา อุดมพงศ์วัฒนา และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเชื่อ การบนบานและการใช้ของแก้บนผู้ที่มาแก้บนศาลเจ้าแม่นมสาว เกาะนมสาว ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน Graduate Research Conference Khon Kaen University (น. 1274-1281). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณีรนุช แมลงภู่. (2566). การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับเศรษฐกิจแห่งความไม่แน่นอน: ชีวิตทางศาสนาของตัวตนในกระแสเสรีนิยมใหม่ในสังคมไทยปัจจุบัน. วารสารสังคมศาสตร์, 35(1), 162-187.

พระนัด จารุวณฺโณ (ยีรัมย์), สงวน หล้าโพนทัน, พระครูวินัยธรธรรมรัตน์ เขมธโร. (2564). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมในการทำบุญแซนโฏนตา ของชาวจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(2), 301-315.

มุณี แสงธรรม. (2558). การบนของชาวพุทธ. กรุงเทพฯ: กายใจ.

วราลี ศรีตระกูล. (2564). “ปรากฏการณ์ไอ้ไข่พารวย” พฤติกรรม ความเชื่อ และการบนบาน. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

สิทธิพงษ์ บุญทอง. (2561). วัดเจดีย์ไอ้ไข่ : การประกอบสร้างให้กลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ภายใต้ (วิกฤติความทันสมัย). (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).