อิทธิพลของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจต่อการสร้างความสัมพันธ์และการตั้งถิ่นฐานของคู่รัก : กรณีศึกษาพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลไกของปัจจัยทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจที่เอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์แบบคู่รัก และอธิบายอิทธิพลของภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งถิ่นฐานเพื่อสร้างครอบครัวของคู่รัก การวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มคู่รักที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ศึกษาร่วมกับับการวิเคราะห์เอกสาร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงกลไกการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ได้ทำหน้าที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดประชากรวัยทำงานเข้ามาในพื้นที่ สร้างโอกาสทางสังคมให้ผู้คนได้พบปะกัน ในขณะที่ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่ทันสมัย โดยเฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้ปฏิสัมพันธ์สามารถพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งได้อย่างรวดเร็ว ท้ายที่สุดความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ได้กลายเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้บุคคลมีความพร้อมทั้งทางทรัพยากรและจิตใจในการสานต่อความสัมพันธ์อย่างจริงจัง สำหรับการตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน พบว่า คู่รักไม่ได้พิจารณาปัจจัยต่างภูมิศาสตร์เศรษฐกิจแบบแยกส่วน แต่เป็นการประเมินศักยภาพของพื้นที่แบบองค์รวม ซึ่งมีโอกาสทางอาชีพที่มั่นคงที่เปรียบเสมือนสมอหลักที่เหนี่ยวรั้งคู่รักไว้ เสริมด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีอันเกิดจากความสะดวกสบายในการเข้าถึงสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ ปัจจัยเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นภาพอนาคตที่ชัดเจน ทำให้คู่รักเกิดความเชื่อมั่นในความมั่นคงระยะยาวและตัดสินใจลงหลักปักฐานเพื่อสร้างครอบครัวในที่สุด
Article Details
References
ดุษฎี อายุวัฒน์ และวณิชขา ณรงค์ชัย. (2561). ความคาดหวังค่อการใช้ ชีวิตกับสามีชาวต่างชาติในถิ่นปลายทางของสตรีอีสาน. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 79-86.
ประภัสสร วัฒนา. (2560). แนวความคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์ (Maslow) และแนวความคิดอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) ที่ปรากฎผ่านนวนิยายเรื่อง “วันหนึ่งในชีวิตของอีวาน เดนิโซวิช”. (ศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ไพลิน ศรีสุขโข. (2545). การพัฒนาความรักและความผูกพันใกล้ชิดในชีวิตคู่. ใน คู่มือการให้การปรึกษาปัญหาทางเพศ (น. 68-75). กรุงเทพฯ: ฝ่ายเวชศาสตร์ประชากร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจา ภู่ไพบูลย์, จริยา วิทยะศุภร และศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์. (2542). ผลกระทบของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว และความต้องการช่วยเหลือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วรรโณบล ควรอาจ และผกามาศ ถิ่นพังงา. (2556). กระบวนการกลายเป็นเมืองในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.tei.or.th/thaicityclimate/public/research-46.pdf.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และจรัมพร โห้ลำยอง. (2555). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2546). การพัฒนาดัชนีความอยู่ดีมีสุขด้านชีวิตครอบครัวสำหรับประเทศไทย : รายงานการศึกษาขั้นสุดท้ายโครงการระบบพัฒนาจัดเก็บกลุ่มดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Granovetter, M. S. (1973). The Strength of Weak Ties. American Journal of Sociology, 78(6), 1360–1380.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370–396.
Perroux, F. (1950). Economic space: Theory and applications. The Quarterly Journal of Economics, 64(1), 89–104.
Tuan, Y.-F. (1977). Space and place: The perspective of experience. Minneapolis, Minnesota: University of Minnesota Press.