ศึกษาหลักมนุษยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
การศึกษา, มนุษยธรรม, ในพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
จากการศึกษาหลักมนุษยธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น เป็นการศึกษาเพื่อนำมาเป็นหลักการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาของชีวิตการเข้าใจในชีวิตเพื่อการมีชีวิตที่สมบูรณ์หลักมนุษยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทถึงแม้จะมีอยู่อย่างมาก และมีความหมายหลากหลายแต่ก็ไม่อาจเกิดขึ้นในจิตใจหรือปฏิบัติตามกันได้ทุกคน เพราะเหตุที่ว่าเมื่อมนุษย์มีมลทินที่เจือปนด้วยราคะความกำหนดยินดีในกามโทสะความโกรธความพยาบาท โมหะความหลงงมงายอย่างรุนแรงแล้วก็ยากที่จะปฏิบัติตามได้เพราะถือว่าอวิชชาและกิเลสเป็น สภาวะที่แรงกล้าเกินกว่าที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมได้ ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงสอนให้ปฏิบัติ ธรรมขั้นพื้นฐาน คือ การรักษาศีล 5 ประการ การมีเมตตาต่อกันให้อภัยซึ่งกันและกัน ที่ตั้งอยู่บน หลักมนุษยธรรมเป็นพื้นฐานและนิจศีล คือ ธรรมของมนุษย์หรือธรรมที่ทำให้ เป็นมนุษย์
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียนมีแรงบันดาลใจที่จะศึกษาในการศึกษาหลักมนุษยธรรมทางพระพุทธศาสนาและแสดงให้เห็นความสำคัญว่าหลักมนุษยธรรมทางพุทธศาสนา เป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยศึกษาหลักมนุษยธรรมทางพระพุทธศาสนา ผู้เขียนใคร่ศึกษาหลักการ แนววิธีปฏิบัติ ตลอดถึงผลที่จะเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ เมื่อได้นำเอาหลักมนุษยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทมาประกอบการดำเนินชีวิต และเมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรมแล้วมนุษย์ก็จะเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ทั้งกายและจิตใจสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขในสังคมมนุษย์ตามหลักมนุษยธรรม
References
ชลธิชา ศาลิคุปต์. (2535). สังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ว. เซอร์วิส.
ปิ่น มุทุกันต์, พ.อ. (2535). พุทธศาสตร์ภาค 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พิทยา ว่องกุล. (2543). สร้างสังคมใหม่: ชุมนุมชนาธิปไตย ธัมมาธิปไตย. กรุงเทพฯ: โครงการวิถีทรรศน์.
สมชาย กษิติประดิษฐ์. (2546). สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมภาร พรมทา. (2544). พุทธปรัชญามนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สยาม.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. แหล่งที่มา http://www.thaimmaonline.com/13176 (11 สิงหาคม 2554)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2541). มนุษยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.