ปัญหาจริยศาสตร์กับความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน
คำสำคัญ:
จริยศาสตร์, ความรับผิดชอบ, ศีลธรรมบทคัดย่อ
คำว่า จริยศาสตร์ มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า Ethos แปลว่า อุปนิสัยหรือความประพฤติของมนุษย์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Ethics แปลว่า การศึกษาถึงมาตรการความประพฤติและการตัดสินใจทางศีลธรรม
คำว่า จริยศาสตร์ เป็นคำสมาสจากรากศัพท์ระหว่างคำว่า จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ กับคำว่า ศาสตร์ ที่แปลว่า วิชา วิทยาการ หรือศาสตร์ความหมายของคำว่า จริยศาสตร์ตามวิถีไทย จึงหมายถึง วิทยาการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของความประพฤติ หรือกิริยาที่ควรประพฤติ โดยเน้นที่พฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้ทราบว่ามาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ที่ว่าถูกหรือควรนั้นเป็นอย่างไร และยึดอะไรเป็นมาตรฐานว่าประพฤติดีหรือควร จริยศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติที่ควรกระทำ หรือไม่ควรกระทำ เป็นการศึกษาถึงจริยธรรม คุณธรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานของความดีความชั่วถูกหรือผิด ซึ่งว่าด้วยความรู้เป็นหลัก จริยศาสตร์จะต้องเรียนรู้ลึกไปถึงขอบเขตของมโนธรรมด้วย คือ ความรู้สึกผิดชอบดีชั่วทางใจ
References
พระมหาถนอมศักดิ์ สู่ภิภักดิ์. (2546). บทบาทของพระธรรมวิทยากร ต่อการปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรมเยาวชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์-พับลิชั่น.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ทองกวาว.
สำเนียง ยอดคีรี. (2560). บทความเรื่อง จริยศาสตร์, จริยธรรม และคุณธรรม ตามแนวคิดของนักปรัชญา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, ปีที่ 22 ฉบับที่ 6 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
Attaput, C. (1987). Ethics. 4th ed. Bangkok: Ramkumheang University Press.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tipitaka (Thai Version). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyala University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.