เจตจำนงเสรี : ฐานของแนวคิดเชิงมนุษยนิยม
คำสำคัญ:
เจตจำนงเสรี, ฐานแนวคิด, มนุษยนิยมบทคัดย่อ
กรณีที่เรามีความต้องการที่จะให้ความต้องการอย่างหนึ่งเป็นเจตจำนงและประสบความสำเร็จ เจตจำนงที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่าเป็นเจตจำนงเสรีเพราะถูกกำหนดให้เป็นไปตามความต้องการระดับที่สองที่เรามี กล่าวอีกนัยหนึ่งเราควบคุมการกระทำของเราเองมิได้ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม การเรียกกรณีเช่นนี้ว่าเป็นการมีเจตจำนงเสรีนับว่าเหมาะสมเพราะในเมื่อการกระทำที่เรากำหนดเองเราเรียกว่าเป็นการกระทำอย่างเสรี เราก็ย่อมกล่าวได้ว่าเจตจำนงที่เกิดจากการกำหนดของเราเป็นเจตจำนงเสรี กรณีที่เราพยายามที่จะกำหนดให้ความต้องการอย่างหนึ่งเป็นเจตจำนงแต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่อาจต้านความปรารถนาที่แรงกว่าได้ เจตจำนงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เจตจำนงอิสระเพราะไม่อยู่ในการบังคับบัญชาของเรา กรณีที่เราปล่อยให้มีการกระทำที่เป็นไปตามความปรารถนาที่แรงกว่า คือ กรณีที่เราไม่ใช้ศักยภาพที่เรามี การกระทำที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากความพยายามที่จะควบคุมตนเองจึงไม่ใช่การกระทำที่เกิดจากเจตจำนงเสรี
ขอให้สังเกตว่าการแยกความแตกต่างระหว่างการกระทำที่เกิดจากเจตจำนงเสรีและการกระทำที่ไม่ได้เกิดจากเจตจำนงเสรีเช่นนี้ไม่ต้องอาศัยประเด็นว่ามนุษย์เราถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมและพันธุกรรมหรือไม่ ประเด็นนี้จึงถูกมองว่าไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องมนุษย์มีเจตจำนงเสรีหรือไม่ สมมติว่าเป็นความจริงว่าการกระทำของมนุษย์สืบสาวสาเหตุไปถึงที่สุดได้ว่ามีต้นเหตุจากปัจจัยสองอย่างนี้ แต่มนุษย์ก็ยังคงมีเจตจำนงเสรีได้ “เสรีภาพ” เป็นคำที่หอมหวนชวนให้ใฝ่หาของ “คนรุ่นใหม่” และมนุษย์ในยุคที่ระบอบการเมือง การปกครองแบบประชาธิปไตยเบ่งบานในประชาคมโลก แม้แต่ในด้านเศรษฐกิจการค้ายังระบุถึง “การค้าเสรี” ที่ต้องไม่มีการปิดกั้นด้วยมาตรการการกีดกันทางการค้าใดๆ อย่างไร้พรมแดน มนุษย์ทุกคนแสวงหาเสรีภาพ อยากได้มาซึ่งเสรีภาพ ในขณะเดียวกัน ความพยายามไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพก็อาจนำมาซึ่งภาวะที่ปราศจากเสรีภาพ
คำว่า “เสรีภาพ” มีความหมายที่กว้างมากเป็นความหมายเชิงนามธรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ในความเป็นรูปธรรมของการกระทำที่อิสระ ดังนั้นถ้าจะให้คำจำกัดความในความหมายเดียว เป็นเรื่องที่แคบจึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า “เสรีภาพ” ไว้แตกต่างกันออกไปมากมาย ความหมายที่ธรรมดาที่สุดของคำว่า “เสรีภาพ” (freedom) ก็คือ “สภาวะที่ปราศจากการขู่เข็ญบังคับจากพลังภายนอก ดังนั้น “ทาส” จึงไม่มีเสรีภาพ เพราะมีผู้อื่นบังคับอยู่ตลอดเวลา ต่อเมื่อเขาได้รับการปลดปล่อย โดยมีสิทธิที่จะอยู่ในสังคมอย่างเสมอภาคกับผู้อื่น มีสิทธิที่จะทำงานของตนเอง จัดการกับผลิตผลของตน ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของตนตามที่ตนเองเห็นสมควร จึงจะมีความหมายว่า เขามีเสรีภาพแล้ว
References
เค.เอ็น. ชยติลเลเก. (2556). พุทธญาณวิทยา. แปลโดย ดร.สมหวัง แก้วสุฟอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จรูญ สุภาพ. (2522). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2518). ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
จวงจื่อ. . (2556). จวงจื่อ ฉบับสมบูรณ์. แปลโดย สุรัติ ปรีชาธรรม. กรุงเทพฯ: โอเพนบุ๊คส์.
เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. (2557). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา. กรุงเทพฯ:
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2520). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: รวมคำแหง.
ชาร์ลส์ ดาร์วิน. (2558). กำเนิดสปีซีส์.(The Origin of Spicics). แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สารคดี.
ซี.อี.เอ็ม.โจด. (2521). ปรัชญา (Philosophy). แปลโดย วิทย์ วิศทเวทย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
เดือน คำดี. (2522). ปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญทัน ดอกไธสง. (2523). พื้นฐานแนวคิดและปรัชญาทางการเมือง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประทุม อังกูรโรหิต. (2519). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความคิดของวิตต์เกนสไตน์เกี่ยวกับความหมายของปรัชญา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. แผนกปรัชญา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2549). ปรัชญากับวิถีชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
เปลโต. (2553). โสกราตีส. แปลโดย ส.ศิวรักษ์.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สยาม.
พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. (เหมประไพ). (2557). การศึกษาเชิงวิพากษ์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความเป็นจริงในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมนุรี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2540). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: สยาม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2523). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมัคร บุศราวาศ. (2496). พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2524). พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน ย่อความพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ส.เสถบุตร. (2500). New Modem English Dictionary. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อาสภเถระ. (2518). การบรรยายธรรมของอาสภะเถระ. กรุงเทพฯ: วัดมหาธาตุ.
Decken, Alfons. (1974). Process & Permancnce in Ethics. New York: Paulist Press.
Eacker, Tay.N. (1975). The Problems of Philosophy and psychology. Chicago: Nelson-Hall.
Feinbery, Joel. (1969). Reason and responsibility of Philosophy. Califomis: Dickenson Publishing Company Inc.
George E.Moore. (1912). Ethics. London: Oxford University Press.
Ian Brownlie. (1971). Basic Ducuments on Human Right. London: Larendon, Press.
Josiah Royce. (1968). The Philosophy of Loyalty. New York: The MacMillan Co.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.