ความเชื่อเรื่องพระพรหมตามคติพระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
คติความเชื่อ, แนวคิด, พระพรหม, พระพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
พระพรหมตามคติพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง เทพที่อยู่ในพรหมภูมิ ไม่เสพกาม มีอายุขัยยาวนานเป็นกัปจนถึงมหากัป มีรูปทิพย์ มีวรรณะทิพย์ มีอาภรณ์ทิพย์ มีรัศมีกายสว่างไสว มีฌานเป็นอาหาร มีฌานเป็นอารมณ์ มีความเป็นอยู่ด้วยปีติสุขทางจิต ไม่มีเพศปรากฏให้เห็น แต่คล้ายเพศชายมาก พระพรหมมีฐานะสูงกว่าเทวดาในกามาวจรภูมิ พระพรหมอาศัยอยู่ในภูมิที่ไม่เสพกามคุณ เรียกว่า พรหมภูมิ พรหมมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ รูปพรหม คือพรหมมีรูป 16 ชั้น แต่ละชั้นมีอธิบดีปกครอง อรูปพรหม คือพรหมไม่มีรูป 4 ชั้น ไม่มีอธิบดีปกครอง เพราะไม่มีรูปมีแต่วิญญาณอยู่ในสภาวะจิต วิมานของพระพรหม เรียกว่า พรหมวิมาน ที่อยู่ของพระพรหม เรียกว่า พรหมโลก พระพรหมมีกำเนิดจากมนุษย์ผู้บรรลุฌาน เมื่อตายแล้วฌานยังไม่เสื่อม ผลของฌานส่งผลให้มาเกิดเป็นพระพรหม เมื่อสิ้นอายุขัยในพรหมโลก ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
พระพรหมเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่มีกุศลมาก มีความพิเศษกว่าสัตว์ในภูมิอื่น ใบหน้าพระพรหมมีสัณฐานกลมเกลี้ยง มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากกายดุจพระอาทิตย์ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือหัวเข่าข้อศอกมีความกลมเกลี้ยงเรียบงาม พระพรหมมีเกศางาม มีชฎาประดับเศียร มีใบหน้าเดียว มีกายตรง นั่งท่าเดียวตลอดเวลา มีเสียงดังกังวาน เสวยสุขในพรหมโลกตราบสิ้นอายุขัย คำสอนในพระพุทธศาสนาเชื่อว่า พระพรหมมีจริง พระพรหมเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ ตอนประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ แสดงธรรม ปรินิพพาน พระสูตรที่กล่าวถึงพระพรหม คือภูริทัตชาดก นารทชาดก พรหมชาลสูตร พรหมสูตร เกวัฏฏสูตร ในพระพุทธศาสนาแบ่งพระพรหมเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พรหมบุคคลาธิษฐาน คือรูปพรหม อรูปพรหม พรหมธรรมาธิษฐาน คือพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า บิดา มารดา สังคมไทยรับเอาอิทธิพลเรื่องพระพรหมมาจากพระพุทธศาสนา คือการบูชาบิดามารดาผู้มีคุณว่าเป็นพระพรหม เพราะว่ามีพรหมวิหารเป็นคุณธรรม คนไทยที่บูชาพระพรหมเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้วิเศษ เป็นผู้มีคุณธรรม และเป็นผู้บริสุทธิ์
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2555). เหนือสามัญวิสัย. กรุงเทพฯ: ไพลิน.
_________. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: ศึกษาเพื่อสันติภาพ.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2545). ศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2555). วิปัสสนาวงศ์. กรุงเทพฯ: ธรรมอินเทรนด์.
__________. (วิลาศ ญาณวโร). (2541). ภูมิวิลาสินี. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
พระสัทธัมมโชติกะ. (2546). ปรมัตถโชติกะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.
พระพานิช ญาณชีโว. (2550). ไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระมหาณรงค์ จิตฺตโสภโณ. (2527). พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2555). ธรรมสารทีปนี. กรุงเทพฯ: พุทธปรัชญา.
ฟื้น ดอกบัว. (2555). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น.
ธนู แก้วโอภาส. (2542). ศาสนาโลก. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
สนั่น ไชยานุกุล. (2519). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมัคร ปุราวาส. (2554). ปรัชญาพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล. กรุงเทพฯ: สยาม.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2511). ประวัติศาสตร์ศาสนา. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
สุจิตรา อ่อนค้อม. (2538). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). พลังลาวชาวอีสานมาจากไหน. กรุงเทพฯ: มติชน.
สุนทร ณ รังสี. (2545). ปรัชญาอินเดียประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.