แนวคิดเรื่องอรรถปริวรรตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

อรรถปริวรรตศาสตร์, การตีความ, แนวคิด

บทคัดย่อ

เมื่อมนุษย์รู้จักใช้ภาษาเพื่อติดต่อสื่อสารข้อคิดกัน การตีความภาษานั้นย่อมเกิดขึ้นตามมา เพียงแต่ว่าในช่วงแรกของมนุษย์นั้น ยังไม่มีรูปแบบหรือวิธีการตีความที่เป็นระบบ และเป็นรูปธรรมชัดเจน ดังเช่นในยุคปัจจุบัน มนุษย์เรายังสามารถใช้ภาษาสื่อสารความหมาย ให้เป็นที่เข้าใจกันและกัน ตรงกันจนเกิดความเคยชิน จึงไม่รู้สึกว่าต้องมีการตีความมากมายอีกต่อไป แต่ว่าหากมีการเข้าใจความหมายผิดไปจากที่สื่อสารแล้ว อาจจะยังไม่โทษว่าเรื่องนั้นผิดหรือถูก อาจจะเป็นการตีความที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม แต่ว่าก็ให้ถือว่าเป็นเพียงการฟังผิดเท่านั้น ในกาลต่อมาเมื่อมีการเข้าใจผิดเพี้ยนไปมากขึ้น ระหว่างผู้ที่สื่อความกับผู้รับสื่อ เนื่องมาจากการใช้ภาษาดังกล่าว จึงมีความเห็นร่วมกันว่า เป็นเพราะภาษาที่ใช้สื่อสารนั้นอาจจะบกพร่อง จึงไม่สื่อความหมายให้ตรงกับความจริง และเริ่มให้ความสำคัญกับภาษามากยิ่งขึ้นอีกด้วย เป็นจุดที่เริ่มต้นของการค้นหาแนวคิด และค้นหาวิธีการใช้ภาษาให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น เพื่อใช้ในการตีความจึงได้เริ่มก่อตัวขึ้นมา และได้พัฒนาการมาเป็นลำดับ

            การตีความแนวตะวันตกนั้น มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคสมัยที่รุ่งเรือง ของปรัชญากรีกยุคสมัยโบราณ โดยได้มีพื้นฐานแนวคิดมาจาก คุณลักษณะของเทพเฮอร์เมส หรือเทพเมอร์คิวรี่ ถือว่าเป็นเทพเจ้ากรีกยุคโบราณ มีความเชื่อกันมาว่า ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์โลก โดยนำสาสน์มาจากพระเป็นเจ้า เพื่อนำมาบอกแก่มวลมนุษย์ทั้งหลาย หรือได้มาจากเทพเฮอร์เมส เทพทริสเมจิตุส คือผู้เป็นตำนานของชาวอียิปต์ในยุคโบราณ ที่ได้มีการกล่าวถึงปราชญ์ผู้วิเศษ ซึ่งที่ทำหน้าที่เปิดเผยความรู้แก่มวลมนุษย์ทั้งหลาย จากร่องรอยความเชื่อเหล่านี้นั้นได้มีการพัฒนาแนวคิด ต่อเนื่องมาโดยลำดับจนกระทั่งได้พัฒนาการ มาเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา เรียกว่า ศาสตร์แห่งการตีความ หรืออรรถปริวรรตศาสตร์ ซึ่งมีเนื้อหาที่กล่าวถึงวิธีการตีความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เป็นคำพูด ภาษา การกระทำต่าง ๆ รวมถึงคัมภีร์ทางศาสนาอีกด้วย จึงถือได้ว่าภาษานั้น เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญมาก ในการสื่อสารเกี่ยวกับการตีความ แต่ว่าจะต้องผ่านการตีความผ่านภาษา และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งคือภาษาที่มนุษย์ทั้งหลายใช้สื่อสารกันทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน จึงมีแนวคิดที่แบ่งออกเป็นสองขั้วด้วยกัน ที่มักจะมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ได้แก่

            1) กลุ่มที่เชื่อว่าความถูกต้อง ความจริง และความดีงาม นั้นสามารถตีความได้ด้วยการใช้ภาษา ซึ่งกลุ่มนี้ยังมีความคิดเห็นที่ต่างกันออกไปอีก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เห็นว่าภาษาในอุดมคติเท่านั้น ที่จะสามารถสื่อสารความจริงให้เป็นไปได้ อีกกลุ่มหนึ่งนั้นได้มีความคิดเห็นว่า ภาษาสามัญมีความแตกต่างหากว่า ต้องการที่จะสื่อสารกับความจริงให้ได้ผลจริง และ 2) กลุ่มที่เชื่อว่าความถูกต้อง ความจริง และความดีงาม นั้นสามารถตีความได้ด้วยประสบการณ์จริง หรือปรากฏการณ์จริงเฉพาะหน้า ซึ่งกลุ่มนี้ได้มีความเห็นว่า ทั้งภาษาสามัญและภาษาในอุดมคตินั้น ไม่สามารถสื่อสารความเป็นจริงได้เลย เพราะว่าความจริงนั้นย่อมไม่สามารถอธิบายได้ด้วยภาษาใดเลย เพียงแต่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์จริงเท่านั้น

References

กีรติ บุญเจือ. (2551). การตีความคัมภีร์ในปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สวนสุนันทา.

ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2550). รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย.

ปรีชา บุญศรีตัน. (2567). รูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา. กรุงเทพฯ:

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระคันธสาราภิวงศ์. (2550). คัมภีร์เนตติปกรณ์. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.

พนารัตน์ จันทร์สิทธิเวช. (2560). วิเคราะห์การตีความหลักพุทธธรรมของเชอเกียมตรุงปะ. กรุงเทพฯ:

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2548). ศาสตร์แห่งการตีความแนวพุทธ. กรุงเทพฯ:

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2559). เฮอร์เมนูติกส์ : ศาสตร์แห่งความเข้าใจของพระพุทธปรัชญาเถรวาทและ

มหายานเชิงเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-05-2025

How to Cite

โอทอง พ. ว. . (2025). แนวคิดเรื่องอรรถปริวรรตศาสตร์. วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์, 1(3), 1–16. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1884