ปฐมเทศนาในพระพุทธศาสนาเถรวาทและเทศนาบนภูเขาในคริสต์ศาสนา
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนาเถรวาท, ศาสนาคริสต์, เทศนาบทคัดย่อ
พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตร หรือที่รู้กันว่า ปฐมเทศนา เป็นเทศนากัณฑ์แรกเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี สาระสำคัญของปฐมเทศนากล่าวถึง พระพุทธองค์ทรงตำหนิทางสุดโต่งสองสาย คือกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งเป็นที่นิยมปฏิบัติกันในเวลานั้น แล้วพระองค์ทรงประกาศแนวทางใหม่ อันเป็นทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ประกอบด้วย อริยสัจ 4 และอริมรรคมีองค์ 8 โดยสรุปแล้ว คือการดำเนินไปตามหลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ และปัญญา ด้วยวิธีการปฏิบัติเช่นนี้ เหล่าพุทธศาสนิกชนก็จะบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือพระนิพพานได้ด้วยตนเอง ส่วนคำเทศนาบนภูเขา คือบันทึกการเทศนาของพระเยซู อันเป็นคำอธิบายของพระเยซูคริสต์ โดยมีใจความสำคัญของเทศนา เรียกว่า บทเทศน์บนภูเขา หรือความสุขแท้จริง คริสตชนยังต้องประพฤติปฏิบัติตน เพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุด ยังต้องอยู่ในกรอบของพระคริสตธรรมคัมภีร์ และหลักธรรมของพระศาสนจักร เพื่อเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าให้พระเจ้ายอมรับให้สิทธิ์ผู้นั้นได้มีชีวิตนิรันดร ได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าในพระอาณาจักรสวรรค์ การกระทำเช่นนี้ ย่อมทำให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ปฐมเทศนาในพระพุทธศาสนาเถรวาทและ เทศนาบนภูเขาในคริสต์ศาสนา พบว่าการเทศนามีความเหมือน และแตกต่างกันทั้งสองศาสนาบางประการ กล่าวคือแนวคิดของพระพุทธศาสนาเถรวาท ต้องปฏิบัติเป้าหมายสูงสุดด้วยตนเอง ส่วนคริสตชนต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างนิรันดร และเพื่อให้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า ซึ่งทั้งสองศาสนามีลักษณะที่เหมือนกันบางประการ ได้แก่
1) ปฐมเทศนาเป็นวันที่พระพุทธเจ้า เริ่มประกาศพระศาสนา ส่วนคำเทศนาบนภูเขา คือบันทึกการเทศนาของพระเยซู ซึ่งคำเทศนาบนภูเขาเป็นหลักธรรมสำคัญของศาสนาคริสต์
2) เป้าหมายสูงสุดของทั้งสองศาสนา มีอยู่เพียงหนทางเดียว ที่เหล่าศาสนิกชนของทั้งสองศาสนานั้นสามารถปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายสูงสุด คือพุทธศาสนิกชนเถรวาท จะต้องปฏิบัติตนหลักไตรสิกขา ส่วนคริสตชนนั้น จะต้องปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า เพราะว่าคริสตชนต้องมีความรักความเชื่ออย่างสุดหัวใจ ที่สามารถจะกระทำทุกอย่างเพื่อพระเจ้าได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรม ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). หลักแม่บทของการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: กัลยาณธรรม.
วัลลภา อุรุโรทยานนท์. (2558). จงรอคอยพระเจ้า. กรุงเทพฯ: คริสเตียนศึกษา.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2562). เส้นทางของพระเป็นเจ้า. กรุงเทพฯ: สมมติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.