ตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ผู้แต่ง

  • พระวรวุฒิ วิสุทธิเมธี โอทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ตำนาน, รอยพระวิษณุบาท, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, คัมภีร์วิษณุปุราณะ

บทคัดย่อ

รอยพระวิษณุบาท คือรอยพระบาทของพระวิษณุเทพ ที่พระองค์ทรงเสด็จมาประทับเอาไว้ยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง เป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญรุ่งเรืองของนิกายไวษณพ และเป็นสัญลักษณ์แทนพระวิษณุเทพ ในการปราบอธรรมให้หมดไปจากไตรโลก ซึ่งรอยพระวิษณุบาทมักจะปรากฏบนแผ่นหินสีดำมีทั้งรอยพระบาทคู่ และพระบาทเดี่ยว ตามตำนานเล่าว่ามีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่ 1) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองหริทวาร 2) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองพัทรีนาถ 3) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองคยาสีสะ 4) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองราเมศวร และ 5) รอยพระวิษณุบาทที่เมืองวารณสี การเกิดขึ้นของรอยพระวิษณุบาทนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการอันเชิญของเหล่าเทพยดาบนสรวงสวรรค์ อ้อนวอนเพื่อให้พระวิษณุเทพทรงอวตารลงมาปราบอสูร ที่เที่ยวทำความเดือดร้อนไปทั่วสามโลก อีกประการหนึ่ง พระวิษณุเทพจะทรงประทานรอยพระวิษณุบาท ให้กับสาวกผู้ภักดี และอุทิศตนต่อพระองค์ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ระลึกถึงพระองค์ และเพื่อเป็นสิ่งเคารพสักการะบูชา ให้เกิดความเป็นอุดมมงคล รอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นรอยพระบาทขนาดกลาง ไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนา รอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกิดขึ้นจากการอวตาร ของพระวิษณุเทพลงมาปราบอสูร และพระองค์ทรงได้ประทับรอยพระบาทเอาไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการปราบอธรรม

References

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2514). ลิลิตนารายณ์ ๑๐ ปาง. กรุงเทพมหานคร: มิตรสยาม.

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2532). ปุราณะ. กรุงเทพมหานคร: นิตยสารไทย.

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2546). นิทานโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ. (2509). ตำนานพระภูมิ. กรุงเทพมหานคร: พระนคร.

อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ. (2509). ตำนานเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์. กรุงเทพมหานคร: พระนคร.

พระราชครูวามเทพมุนี. (2509). ตำนานมหาเทพ. กรุงเทพมหานคร: พระนคร.

สมพงษ์ งามแสงรัตน์. (2550). หริทวารประตูสู่พระเจ้า. กรุงเทพมหานคร: วงกลม.

ศานติ ภักดีคำ. (2556). พระนารายณ์ผู้ปราบยุคเข็ญ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อติเทพ เทวินทร์. (2550). ตำนานพิธีกวนเกษียรสมุทร. กรุงเทพมหานคร: ไพลิน.

มนตรี จันทร์ศิริ. (2553). ตำนานมหาเทพแห่งสรวงสวรรค์. กรุงเทพมหานคร: เสาชิงช้า.

มาลินี ผโลประการ. (2547). รามเกียรติ์. กรุงเทพมหานคร: สยามการพิมพ์.

พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์. (2553). คนกับพระเป็นเจ้า. กรุงเทพมหานคร: สยามคเณศ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2025

How to Cite

โอทอง พ. ว. . (2025). ตำนานการเกิดขึ้นของรอยพระวิษณุบาทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. วารสารทางวิชาการนาฬาคิรีปริทรรศน์, 2(1), 50–61. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/AJNP/article/view/1815