ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ , ปัจจัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ , จักร 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัจจัยส่งเสริมจากสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และ 4) ศึกษาหลักจักร 4 ที่ส่งผลต่อต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณสํารวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร จำนวน 259 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระดับความคิดเห็นต่อการใช้หลักจักร 4 และระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และบุคคลดูแลเวลาป่วยต่างกันมีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่อเดือน และเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการต่างกันมีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ประชาชนที่มีเพศ สถานภาพการสมรสต่างกันมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยภาพรวม พบว่า มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมีความสัมพันธ์สูง คิดเป็นร้อยละ 74.8 และสามารถร่วมกับพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 55.9 และ 4) หลักจักร 4 โดยภาพรวม พบว่า ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้องในระดับมีความสัมพันธ์สูง คิดเป็นร้อยละ 50.2 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 25.2
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/1
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2567). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ : บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.
ตัณติกร เหล่าพร. (2567). บัญชีสรุปบัญชีบุคคลตามช่วงวันเดือนปีเกิด หรือช่วงอายุ (เพศชาย+เพศหญิง) ทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง. (อัดสำเนา).
ปฏิญญา ภูจำปา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหัวนาคำอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).(2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.
สิริมา อิทธิ์ประเสริฐ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแกลงกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเทพ ศรีนุช, พูนชัย ปันธิยะ และพิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2563). แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเป็นสุข. สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 136-149.
อัศวิน ลิ้มฤกษ์ลำรึก. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 5(1), 42–57.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น