การมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำตามหลักสาราณียธรรมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • พระครูพิจิตรวรเวท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุเมฆ สมาหิโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูโพธิวรคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการน้ำ , การมีส่วนร่วม, เกษตรกรผู้ปลูกข้าว , หลักสาราณียธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำตามหลักสาราณียธรรมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาหลักสาราณียธรรมที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยสํารวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 214 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการน้ำตามหลักสาราณียธรรม และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำตามหลักสาราณียธรรมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีจำนวนพื้นที่นา และอายุต่างกัน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่เพศ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งในการทำนา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) หลักสาราณียธรรมที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พบว่า หลักสาราณียธรรมทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในระดับมีความสัมพันธ์มาก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณคิดเป็นร้อยละ 78.7 (R = .787) และสามารถร่วมกันพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 61.9 (R2 = .619) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่า มีหลักสาราณียธรรม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีความเห็นชอบร่วมกัน ด้านการตั้งจิตปรารถนาดี ด้านการแบ่งปันสิ่งของที่ได้มาอย่างทั่วถึง สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ด้านการประพฤติปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมชลประทาน. (2566). หนังสือที่ประชุมเรื่องการจัดรอบเวรน้ำ เอกสารประชุมการชี้แจงแผนการส่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ ปี 2566. (อัดสำเนา)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2567). ย้อนรอย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เข้าถึงได้จาก https://www.moac.go.th/about-history

จิรโรจน์ สมบัติใหม่. (2566). จำนวนประชากรตำบลทับหมัน, เอกสารประกอบการประเมินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ. (อัดสำเนา)

ฐากูล หอมกลิ่น. (2557). การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในเขตชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุง รักษาเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นัชชา เกิดอินทร์ และโชติ บดีรัฐ. (2565). การบริหารจัดการน้ำโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เพื่อการเกษตรแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 314-324.

ผู้จัดการออนไลน์. (2554). พิจิตรใกล้กลียุค ชาวนาเปิดศึกแย่งน้ำวางมวยรายวัน-อบต.สิ้นหวังวอนรัฐช่วย. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/local/detail/9540000016566#google_vignette

พระครูวินัยธรสุธินันท์ กนฺตวีโร (ล้อประโคน). (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียของชุมชนคลอง 5 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุวรรณธรรมาภิมณฑ์ (สมชาย เจริญผา). (2565). การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(3), 221-222.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

ภาคภูมิ สุขีสนธิ์ และภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. (2560). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ศึกษากรณี บึงแก่งน้ำต้อน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร, 45(3), 471-478.

อภิชิต อนันตประยูร. (2558). การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อจัดการความขัดแย้งของชุมชนรอบสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theore. Englewood Cliffs, New Jersey : Prenticy-Hall, Inc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

พระครูพิจิตรวรเวท, พระมหาสุเมฆ สมาหิโต, & พระครูโพธิวรคุณ. (2025). การมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำตามหลักสาราณียธรรมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร . Journal of Education and Social Agenda, 2(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1471