การพัฒนาทักษะของเยาวชนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยจากบุหรี่ โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • สามเณรศักดาวุฒิ ทวีศรี นักวิชาการอิสระ
  • สามเณรกมลภพ ใจรักษา นักวิชาการอิสระ
  • จุทารัตน์ สีทอง นักวิชาการอิสระ
  • ชานนท์ มงคลทอง นักวิชาการอิสระ
  • สามเณรวรัทยา บุญมาพร นักวิชาการอิสระ
  • พระกิตติศักดิ์ ทองพูล นักวิชาการอิสระ
  • สามเณรณัฐพล โพธิ์หวี นักวิชาการอิสระ
  • รัตติยา เหนืออำนาจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ , เด็กและเยาวชน , พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดกิจกรรมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันการสูบบุหรี่ และ 2) ประเมินผลกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะของเยาวชนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยจากบุหรี่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการให้ความรู้ การให้ความรู้เรื่องพิษภัยจากบุหรี่จากวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอตากฟ้า กิจกรรมธรรมนำใจ ลดภัยบุหรี่ใช้หลักสติสัมปชัญญะและเบญจศีล โดยพระวิทยากรให้ความรู้และหลักธรรม เพื่อใช้หลักธรรมในการหลีกเลี่ยงภัยจากบุหรี่ เกม Bingo No Smoking เป็นสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ และกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ทำแบบประเมินความพึงพอใจ โดยการประเมินแบบโต้ตอบ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการสอบถามและตอบคำถามในการจัดกิจกรรม ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันการสูบบุหรี่ โดยมีกิจกรรมธรรมนำใจ ลดภัยบุหรี่ และ กิจกรรมการรู้โทษเท่าทันพิษภัยจากบุหรี่เป็นการบรรยายเรื่อง “การรู้โทษเท่าทันพิษภัยจากบุหรี่” พบว่า สามารถช่วยให้เยาวชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของบุหรี่และสามารถลดความเสี่ยงในการสูบบุหรี่ได้ และ 2) การประเมินผลกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะของเยาวชนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยจากบุหรี่ พบว่า ผลรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม    ร้อยละ 75 มีความเข้าใจและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่

References

พระราชรัตนเวที, อัครเดช พรหมกัลป์ และรัตติยา เหนืออำนาจ. (2564). การเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องเหล้าและบุหรี่ ตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(7), 2776–2791.

ลักขณา เติมศิริกุลชัย. (2563). โรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

วิลาวัณย์ ประทีปแก้ว. (2562). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน. (รายงานการวิจัย). ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ : สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ. (2564). สถานการณ์การบริโภคบุหรี่ของประชากรไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.trc.or.th/th/index.php.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2567). อัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชน. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2024/02/29795.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). รางวัลและประวัติโรงเรียนอนุบาลตากฟ้า. เข้าถึงได้จาก https://asset.boppobec.info/Home/BuildingBy SchoolID?Scho olID

อำนาจ ทาปิน และพระครูโกวิทบุญเขต (2565). การพัฒนาเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพุทธศาสนาจังหวัดตาก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(2), 117.132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

สามเณรศักดาวุฒิ ทวีศรี, สามเณรกมลภพ ใจรักษา, สีทอง จ. ., มงคลทอง ช. ., สามเณรวรัทยา บุญมาพร, พระกิตติศักดิ์ ทองพูล, สามเณรณัฐพล โพธิ์หวี, & เหนืออำนาจ ร. . (2025). การพัฒนาทักษะของเยาวชนในการป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยจากบุหรี่ โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวพระพุทธศาสนา. Journal of Education and Social Agenda, 2(1), 47–56. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1241