การศึกษา คือ ความมั่นคงของชาติ

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงศ์ เสมสูงเนิน สมาคมพุทธบริษัทใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร

คำสำคัญ:

การพัฒนาประเทศ, การศึกษา, , ความมั่นคง, ประเทศชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของการศึกษา หรือการศึกษากับการพัฒนาประเทศในมิติด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์ พบว่า การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และการประพฤติปฏิบัติทางคุณธรรมความสามารถเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรืองงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้น ที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนหรือส่วนรวมผ่านพ้นไปได้นำมาซึ่งการเสวยผลแห่งความมีชีวิตได้สมบูรณ์ การศึกษาหรือการแสวงหาความรู้ก่อนรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บุตร ธิดา หรือหลานเจ้านายและชนชั้นผู้ปกครองจะศึกษาเล่าเรียนวิชาการเมือง การปกครอง และการพระศาสนา ส่วนราษฎรจะศึกษาในเรื่องการกสิกรรม การประกอบสัมมาชีพเท่านั้นโดยมีวัง วัด และสำนักเรียน เป็นแหล่งให้การศึกษาถ่ายทอดสรรพวิชาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องตามบทบาทหน้าที่ของตน เมื่อถึงรัชสมัยล้นเกล้าราชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อราษฎรจะได้รับและมีโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเน้นให้สอนชาวสยามตระหนักว่าการมีปัญญาต้องควบคู่กับคุณธรรม ซึ่งจะนำไปสู่ความมีน้ำใจ ความมีเมตตาอารี ดังนั้น การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ความรู้สึก เป็นต้น เพื่อให้เป็นมนุษย์ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม สามารถพึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ผู้อื่น สังคม ตลอดจนประเทศชาติบ้านเมืองได้นั้น จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาคือความมั่นคงของชาติ เพราะว่า การศึกษา คือ รากฐานของชีวิตเมื่อชีวิตมั่นคง ย่อมส่งผลให้ครอบครัว ชุมชน สังคม และชาติ เกิดความมั่นคงตามมาด้วยเนื่องจากประชาชนมีความรู้ในการพัฒนาประเทศ บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหมายของการศึกษา หรือการศึกษากับการพัฒนาประเทศในมิติด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์

References

กัญญภัค แมกกี้. (2561). ปัญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(1), 114-123.

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวเเพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา. (2567, 12 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 251 ง, หน้า 1-64.

ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 258 ง, หน้า 1-149.

พระมหาเอกพันธ์ วรธมฺมญฺญู (มะเดื่อ). (2567, 31 กรกฎาคม). การศึกษา คือ ความมั่นคงของชาติ. (สุทธิพงศ์ เสมสูงเนิน, ผู้สัมภาษณ์)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

ภูวดล ศิริพงษ์. (2564). พระบรมราโชบายด้านการศึกษากับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารทหารพัฒนา, 45(1), 1-10.

รอย อิงคไพโรจน์. (2567, 30 สิงหาคม). การศึกษา คือ ความมั่นคงของชาติ. (สุทธิพงศ์ เสมสูงเนิน, ผู้สัมภาษณ์)

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

อุทัย ภู่เจริญ. (2564). การศึกษาสร้างคน คนสร้างประเทศชาติ. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12(1), 25-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

เสมสูงเนิน ส. . (2025). การศึกษา คือ ความมั่นคงของชาติ. Journal of Education and Social Agenda, 2(1), 57–72. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1216

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ